หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ไทย
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
อัตชีวประวัติพระอริยสงฆ์ และพระเกจิอาจารย์ในประเทศไทย
หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ : หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
๓ มีนาคม ๒๑๒๕ - ๖ มีนาคม ๒๒๒๕
วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างไห้) ตำบลบ้านไร่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

คติธรรม คำสอน :
พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี)
๑๗ เมษายน ๒๓๓๑ - ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕
วัดระฆังโฆสิตาราม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

คติธรรม คำสอน :
บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า
นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น

พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข)
พ.ศ. ๒๓๙๐ - พ.ศ. ๒๔๖๖
วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

คาถาหลวงปู่ :
นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล : พระปรมาจารย์กรรมฐาน
๒ พฤศจิกายน ๒๔๐๒ - ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔
วัดดอนธาตุ บ้านทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

คติธรรม คำสอน :
ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่า ที่ได้มีวาสนามาเกิดเป็นมนุษย์
เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ

หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (พุทฺธสโร) : หลวงพ่อเดิม
๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๓ - ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๔
วัดหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

คติธรรม คำสอน :
สอนคนอื่นมากมาย ต้องสอนตัวเองเสียทีหนึ่ง และมิใช่ว่าสอนเพียงวันสองวันแต่หากตลอดชีวิต

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
๒๐ มกราคม ๒๔๑๓ - ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๒
วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

คติธรรม คำสอน :
ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ
ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง

ครูบาศรีวิชัย (สิริวิชโยภิกขุ) ครูบาศรีวิชัย (สิริวิชโยภิกขุ)
๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๐ - ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๑
วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

คติธรรม คำสอน :
เมื่อศีลบริสุทธิ์แล้ว สมาธิ ความตั้งมั่นก็จะมีมา แล้วให้ปลุกปัญญา ปัญญาก็จักเกิดมีขึ้นได้ คือ ให้หมั่นรำลึก ถึงตัวตนอยู่เสมอว่า บ่ใช่ตัว บ่ใช่ตน จนเห็นแจ้งด้วย ปัญญาของตน จึงเป็นสมุทเฉทประหานกิเลส หมดแล้ว จิตเป็นวิมุติ หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวลได้

หลวงปู่จันทร์ เขมิโย หลวงปู่จันทร์ เขมิโย
๕ ธันวาคม ๒๔๒๔ – ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖
วัดศรีเทพประดิษฐาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

คติธรรม คำสอน :
การเตรียมตัวเตรียมใจ : เราเกิดมาในชาติหนึ่งๆ อย่าปล่อยให้ร่างกายของเรา เหมือนเรือไหลล่อง ผู้เป็นเจ้าของต้องเตรียมตัว ระมัดระวังหางเสือของเรือไว้ให้ดี ผู้ใดเผลอผู้ใดประมาท ผู้นั้นมอบกายของตน ให้เป็นเรือไหลล่องไปตามกระแสน้ำ ผู้นั้นเรียกว่า โง่น่าเกลียดฉลาดน่าชัง เป็นยาพิษ ...

พระมงคลเทพมุณี :หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุณี : สด จนฺทสโร (หลวงพ่อวัดปากน้ำ)
๑๐ ตุลาคม ๒๔๒๗ - ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒
วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

คติธรรม คำสอน :
"กินคนเดียว ไม่พอกิน กินมากคน กินไม่หมด"
พระธรรมนี้เป็นของลึกซึ้งยิ่งนัก ยากที่มนุษย์จะเข้าถึง การจะเข้าให้ถึงได้ต้องรู้ตรึก รู้นึก รู้คิด ต้องหยุด เป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับ เมื่อดับแล้วจึงเกิด ถ้าไม่ดับ ก็ไม่เกิด นี่เป็นของจริง ของจริงต้องอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนนี้ เป็นไม่เห็นเด็ดขาด ...

หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวณณเถร พระราชสังวราภิมณฑ์ : หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวณณเถร
๒๗ มีนาคม ๒๔๒๙ - ๕ มีนาคม ๒๕๒๔
วัดประดู่ฉิมพลี แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

คติธรรม คำสอน :
ความเป็นสัจจะไม่เที่ยง ความเป็นสัจจะเป็นทุกข์ ความเป็นสัจจะเป็นอนัตตา
อย่าไปหลงสมมติ หลงไกลเท่าไร.. ห่างไกลพระนิพพานเท่านั้น

ย้อนกลับ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | หน้าต่อไป

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก