หน้าหลัก ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา วันออกพรรษา
Search:

"พิธีกรรมทางศาสนานั้น เปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้ ต้นไม้ที่ปราศจากเปลือกห่อหุ้ม ย่ิอมไม่สามารถยืนต้นอยู่ได้"


หน้าแรก : หมวดศาสนพิธี
วันออกพรรษา
วันสำคัญทางพุทธศาสนา เรียงตามลำดับดังนี้
๑. วันวิสาขบูชา : ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ๕. วันเข้าพรรษา
๒. วันอาสาฬหบูชา : ปฐมเทศนา-ประกาศศาสนา ๖. วันออกพรรษา
๓. วันมาฆบูชา : จาตุรงคสันนิบาต-โอวาทปาฏิโมกข์ ๗. วันพระ หรือวันธรรมสวนะ
๔. วันอัฏฐมีบูชา : ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ  
เนื้อหาหลักนำมาจาก : หอมรดกไทย และ wiki
วันออกพรรษา ตรงกับวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๑๑ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ออกจากจำพรรษา หรือการอยู่ประจำที่ตลอดฤดูฝน เป็นระยะเวลา ๓ เดือน ต่อจากวันนี้ไปพระภิกษุสงฆ์ก็สามารถจาริกไปในที่ต่าง ๆ และค้างแรมในที่อื่นได้

เหตุและความเป็นมา
       ในวันออกพรรษาตามประวัติกล่าวว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากที่ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา การเสด็จลงจากดาวดึงส์ครั้งนั้น ได้เสด็จลงมา ณ เมืองสังกัสสะ บรรดาพุทธศาสนิกชนจึงพากันไปตักบาตรแด่พระพุทธเจ้า เรียกว่า ตักบาตรเทโว คำเต็มคือ ตักบาตรเทโวโรหนะ คำว่า เทโวโรหนะ แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก

ความสำคัญของวันออกพรรษา
       วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน (นับแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย

นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนยังร่วมกันทอดกฐิน ในระยะเวลา ๑ เดือนหลังออกพรรษา มีทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน อย่างไรก็ดี ในแต่ละท้องถิ่นยังมีประเพณีอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น การแข่งเรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นต้น

ในวันออกพรรษานี้ กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ "ตักบาตรเทโว" เพื่อเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระ พุทธมารดาในเทวโลก


 

      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธี เล่ม ๑ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธีสังเขป : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมโท - ศาสนพิธี เล่ม ๒ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นโท


   โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
พรรษากาลเทศนา ออกพรรษา คลิกฟัง
เทศน์วันออกพรรษา -: ออกพรรษาด้วยสุญญตาวิหาร คลิกฟัง
เทศน์วันออกพรรษา -: การออกพรรษาอย่างบัณฑิต คลิกฟัง
เทศน์วันออกพรรษา -: ประโยชน์ของวันปวารณาและเทโวโรหณะ คลิกฟัง
เทศน์วันออกพรรษา -: ความหมายของวันปวารณาออกพรรษา คลิกฟัง
เทศน์วันออกพรรษา -: การออกจากสิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ คลิกฟัง
   โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
ออกพรรษาไม่ออกจากความดี คลิกฟัง
ออกพรรษา ปวารณา กฐิน คลิกฟัง
ออกพรรษาปวารณาตัวกัน คลิกฟัง
วันออกพรรษา คลิกฟัง
   โดย พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
วันใกล้วันออกพรรษา คลิกฟัง
ธรรมะวันออกพรรษา คลิกฟัง
ธรรมปฏิบัติวันออกพรรษา คลิกฟัง

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก