หน้าหลัก พระสงฆ์
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
สงฆ์ หรือ สงฺฆ ในภาษาบาลีแปลว่า หมู่ หมายถึง สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตรปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัย ที่พระบรมศาสดา สั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ในทางพระพุทธศาสนามี ๒ ประเภท โดยปรากฏในบทสวดสังฆคุณ ดังนี้

      ยทิทํ ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ
      จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุคคล
      อันหมายถึงพระสงฆ์ฝ่ายธรรม ๔ และพระสงฆ์ฝ่ายวินัย ๔

      พระสงฆ์ฝ่ายธรรม หมายถึง พระอริยบุคคล ๔ ประเภท คือ
      พระโสดาบัน (สุปฏิปณฺโณ ปฏิบัติดี , งาม)
      พระสกทาคามี (อุชุปฏิปณฺโณ ปฏิบัติตรง , ถูกต้อง)
      พระอนาคามี (ญายปฏิปณฺโณ ปฏิบัติชอบ , เพื่อธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์)
      พระอรหันต์ (สามีจิปฏิปณฺโณ ปฏิบัติสมควร, เหมาะสม)

      พระสงฆ์ฝ่ายวินัย หมายถึง พระภิกษุผู้ได้รับการอุปสมบทตามพระบรมพุทธานุญาต ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เรียกว่าสงฆ์ เนื่องจากคำว่าสงฆ์ แปลว่า หมู่ จึงเรียกหมู่พระภิกษุว่า ภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุสงฆ์จัดเป็นพระสงฆ์โดยสมมุติ จึงเรียกว่า สมมุติสงฆ์ จัดเป็น ๔ วรรค ตามตามพระบรมพุทธานุญาต เพื่อปฏิบัติสังฆกิจตามพระวินัย คือ จตุวรรค (ภิกษุ ๔ รูป) ปญฺจวรรค (ภิกษุ ๕ รูป) ทสวรรค (ภิกษุ ๑๐ รูป) วิสติวรรค (ภิกษุ ๒๐ รูป) แต่ถ้าพระภิกษุ ๒-๓ รูป เรียกว่า คณะ ถ้าพระภิกษุรูปเดียว จัดเป็นบุคคล

      อนุตฺตรํ ปุญฺญเขตฺตํ โลกสฺส พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
      อาหุเนยฺโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา (นำมาถวาย เช่นนำมาใส่บาตรขณะบิณฑบาตร)
      ปาหุเนยฺโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ (จัดไว้รอท่าให้ท่านมารับ เช่น การนิมนต์มาฉันที่บ้าน)
      ทกฺขิเนยฺโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การรับทักษิณาทาน (การเอ่ยปากขอเองจากท่าน)
      อฺญชลีกรณีโย พระสงฆ์เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี (การประนมมือ)

สงฆ์ คือ หมู่, ชุมนุม
      ๑. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้าเรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล (รายตัวบุคคล) ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจากภิกขุสงฆ์ คือหมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒), ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์

      ๒. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็น สงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง, ถ้าเป็นชุมนุมภิกษุ ๒ หรือ ๓ รูป เรียกว่า คณะ ถ้ามี ภิกษุรูปเดียว เป็น บุคคล

ที่มาข้อมูล :
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
และ สารนุกรมเสรีวิกิพีเดีย

  ปฐมสาวก.. โกณฑัญญะ พราหมณ์หนุ่มที่สุดในบรรดาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายลักษณะของสิทธัตถกุมาร ต่อมาออกบวชตามปฏิบัติ พระสิทธัตถะขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นหัวหน้าพระปัญจวัคคีย์ ... คลิกอ่านรายละเอียด
 
  สมเด็จพระสังฆราชไทย.. สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่ง ที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช.. คลิกอ่านรายละเอียด

พระอริยสงฆ์ และพระเกจิอาจารย์ของไทย คลิกอ่านรายละเอียด
  พระอสีติมหาสาวก.. อสีติมหาสาวก คือ พระภิกษุสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกสำคัญ ๘๐ รูป ของพระพุทธเจ้า.. คลิกอ่านรายละเอียด

พระอัครสาวก แปลว่า สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้ยอดเยี่ยม หมายถึง พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ .. คลิกอ่านรายละเอียด
 
  การบริหารคณะสงฆ์ไทย.. การบริหารคณะสงฆ์ มีมาแล้วตั้งแต่พุทธกาล หลักที่ใช้คือ พระธรรมวินัย เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว.. คลิกอ่านรายละเอียด
  เอตทัคคะ.. แปลว่า “นั่นเป็นยอด”, “นี่เป็นเลิศ”, ได้แก่ บุคคลหรือสิ่งที่ยอดเยี่ยม ดีเด่น หรือ เป็นเลิศ ในทางใดทางหนึ่ง ๆ.. คลิกอ่านรายละเอียด

เอตทัคคะ แยกตามบริษัท ๔.. คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุปาสก อุบาสิกา.. คลิกอ่านรายละเอียด
 
  ระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย... "อานนท์ ! ธรรมและวินัยใด ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่ท่านทั้งหลาย โดยการล่วงไปแห่งเรา ธรรมและวินัยนั้น.." คลิกอ่านรายละเอียด

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก