ทานพิธี
คือพิธีถวายทานต่าง ๆ วัตถุที่ควรถวาย มี ๑๐ อย่าง คือ
๑. ภัตตาหาร
๒. น้ำ
๓. เครื่องนุ่งห่ม
๔. ยานพาหนะ
๕. มาลัยและดอกไม้บูชาพระ
๖. ของหอมคือดอกไม้บูชาพระ
๗. สบู่ชำระกาย
๘. ที่นอนหมอนมุ้ง
๙. กุฏิ เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้
๑๐. ตะเกียง น้ำมัน ตะเกียง ไฟฟ้า ไฟฉาย เป็นต้น.
แม้ของอื่น ๆ ที่สงเคราะห์เข้าในปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร
ที่อยู่ ยา ได้ และสิ่งจำเป็นต้องใช้ อันสมควรแก่พระภิกษุสามเณร ก็
จัดเป็นทานวัตถุทั้งสิ้น.
การถวายทานมี ๒ อย่าง คือ :-
ปาฏิบุคลิกทาน : ถวายเจาะจงพระ - เณร องค์นั้น องค์นี้.
สังฆทาน : ถวายแก่สงฆ์ทั่วไป ไม่เจาะจงองค์ใด ๆ.
เวลาถวายทาน มี ๒ เวลา คือ :-
กาลทาน : ถวายจำกัดเวลา เช่น ผ้ากฐิน ภายใน ๑ เดือนท้ายฤดูฝน. อาหาร เช้าถึงเที่ยง.
วิกาลทาน : ถวายไม่จำกัดเวลา เช่น อดิเรกจีวร, ยา, ที่นอน ที่นั่ง เป็นต้น.
ระเบียบพิธี
ระเบียบพิธีที่ต้องศึกษานี้ มุ่งถึงพิธีถวายแก่สงฆ์ ที่เรียกว่า "สังฆทาน" ซึ่งมีระเบียบพิธี คือ :-
๑. ตั้งเจตนาให้แน่วแน่ คือมุ่งถวายสงฆ์จริง ไม่เห็นแก่หน้าผู้รับจะเป็นพระแก่ พระหนุ่ม หรือสามเณร ก็ได้ทั้งนั้น
แต่ต้องให้สงฆ์ส่งมา ไม่ใช่ทายกเลือกเอาเอง.
๒. เตรียมทานวัตถุ คือจะถวายสิ่งของชนิดใด เวลาใด แก่สงฆ์กี่รูป ก็เตรียมให้พร้อม ถ้าเป็นของหนัก
หรือเคลื่อนที่ไม่ได้ ก็เตรียมให้เหมาะกับการที่จะถวายของนั้น ๆ ได้.
๓. เผดียงสงฆ์ คือแจ้งความประสงค์จะถวายสังฆทานนั้น ๆ ให้สงฆ์ทราบ ระบุจำนวนภิกษุสงฆ์เท่าที่ต้องการ
ระบุเวลา - สถานที่ทำพิธีให้ชัดเจน.
๔. ครั้นพร้อมทั้งฝ่ายเจ้าภาพและฝ่ายสงฆ์แล้ว พึงปฏิบัติการพิธีดังต่อไปนี้ :-
ก. เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย.
ข. เจ้าภาพอาราธนาศีล รับศีล.
ค. เจ้าภาพตั้ง นโม ๓ จบ, กล่าวคำถวายสังฆทาน ตามแบบอันสมควรแก่วัตถุทานนั้น ๆ.
๕. พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนา ประนมมือรับว่า สาธุ ในขณะเจ้าภาพกล่าวคำถวายจบ.
เมื่อเจ้าภาพประเคนทานวัตถุแล้ว (เป็นของหนักยกไม่ได้ หรือของเคลื่อนที่ไม่ได้
ก็รับน้ำที่เจ้าภาพหลั่งถวายในมือ หรือใช้สายสิญจน์โยงจากของนั้น ๆ ถวายแล้ว)
ก็อนุโมทนา ยถา สพฺพีติโย. . .ใช้คาถาอนุโมทนาตามควรแก่ทานนั้น ๆ ภวตุ สพฺพมงฺคล. . .
เจ้าภาพกรวดน้ำ. เป็นเสร็จพิธี.
คำถวายสังฆทาน
(ประเภท สามัญ ถวายเพื่อตนเอง)
อิมานิ มย ภนฺเต, ภตฺตานิ สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม,
สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ ภตฺตานิ สปริวารานิ,
ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย.
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร
กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ
ภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ขอข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.
(ประเภท มตกภัต อุทิศผู้ตาย)
อิมานิ มย ภนฺเต มตกภตฺตานิ สปริวารานิ ภิกฺขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม,
สาธุ โน ภนฺเต ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ มตกภตฺตานิ สปริวารานิ ปฏิคฺคณฺหาตุ,
อมฺหากญฺเจว มาตาปิตุอาทีนญฺจ าตกาน กาลกตาน,
ทีฆรตฺต, หิตาย สุขาย.
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายมตกภัตตาหาร
กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ
มตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วด้วย สิ้น
กาลนาน เทอญ.
คำถวายของต่าง ๆ มีคำที่เปลี่ยนจากคำว่า ภตฺตานิ ต่อไปนี้
สลากภัต . . .ภตฺตานิ สปริวารานิ อสุกฏฺาเน ปิตานิ. . .
ข้าวสาร . . . ตณฺฑุลานิ สปริวารานิ . . .
เสนาสนะ กุฏิ วิหาร . . . เสนาสนานิ อาคตานาคตสฺส จาตุทฺทิสสฺส. . .
ศาลาดรงธรรม . . . อิม สาล ธมฺมสภาย อุทฺทิสฺส จาตุทฺทิสสฺส. . .
ผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) ...วสฺสิกสาฏิกานิ สปริวารานิ...
ผ้าจำนำพรรษา . . . วสฺสาวาสิกจีวรานิ. . .
ผ้าอัจเจกจีวร . . . อจฺเจกจีวรานิ . . .
ผ้าป่า . . . ปสุกูลจีวรานิ . . .
(ต่อไปนี้ว่าเต็มทุกอย่าง)
ผ้ากฐิน (แบบที่ ๑)
อิม สปริวาร กินจีวรทุกสฺส, สงฺฆสฺส โอโณชยาม. (ว่า ๓ จบ)
ผ้ากฐิน (แบบที่ ๒)
อิม ภนฺเต สปริวาร กินทุสฺส สงฺฆสฺส โอโณชยาม,
สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ อิม สปริวาร กินทุสฺส ปฏิคฺคณฺหาตุ,
ปฏฺคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กิน อตฺถรตุ,
อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย.
ธูปเทียน ดอกไม้ เพื่อบูชา
อิมานิ มย ภนฺเต ทีปธูปปุปฺผวรานิ รตนติตยสฺเสว ปูเชม.
อมฺหาก รตนตฺตยสฺส ปูชา ทีฆรตฺต
หิตสุขาวหา โหตุ อาสวกฺขยปฺปตฺติยา.
กระทงสำหรับลอยประทีป
มย อิมินา ปทีเปน อสุกาย นมฺมทาย นทิยา ปุลิเน ิต มุนิโน ปาทวลญฺช อภิปูเชม
อย ปทีเปน มุนิโน ปาทวลญฺชสฺส ปูชา อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย สวตฺตุ.
ธงเพื่อบูชา
มย อิมินา ธชปฏาเกน รตนตฺตย อภิปูเชม,
อย ธชปฏาเกน รตนติตยปูชา อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย สวตฺตตุ.
เวจกุฏี
มย ภนฺเต อิม วจฺจกุฏึ อาคตานาคตสฺส จาตุทฺทิสสฺส
ภิกฺขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต ภิกฺขุสงฺโฆ อิม
วจฺจกุฏึ ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย.
สะพาน
มย ภนฺเต อิม เสตุ มหาชนาน สาธารณตฺถาย
นิยฺยาเทม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ อิมสฺมึ เสตุมฺหิ นิยฺยาทิเต
สกฺขิโก โหตุ, อิท เสตุทาน อมฺหาก ทีฑรตฺต หิตาย สุขาย
สวตฺตุ.
เภสัชทานมีน้ำผึ้ง เป็นต้น
สรโท นามาย ภนฺเต กาโล สมฺปตฺโต, ยตฺถ ตถาคโต อรห
สมฺมาสมฺพุทฺโธ สารทิกาพาเธน อาพาธิกาน ภิกฺขูน ปญฺจ เภสชฺชานิ
อนุญฺาสิ, สปฺปิ นวนีต เตล มธุ ผาณิต, มยนฺทานิ ตกฺกาลสทิส
สมฺปตฺตา, ตสฺส ภควโต ปญฺตฺตานุค ทาน, ทาตุกามา,
เตสุ ปริยาปนฺน, มธุญฺจ เตลญฺจ ผาณิตญฺจ ภิกฺขูนญฺเจว
สามเณรานญฺจ โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, อยฺยา ยถาวิภตฺตา
มธุทานญฺจ เตลญฺจ ผาณิตญฺจ ปฏิคฺคณฺหาตุ
อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย.
|