หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระภัททากัจจานาเถรี
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๑๑. พระภัททากัจจานาเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงอภิญญา

พระภัททากัจจานาเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งโกลิยวงศ์ ในพระนคร เทวทหะ เป็นพระกนิษฐภคินีของพระเทวทัต บรรดาพระประยูรญาติได้ขนานพระนามว่า “ภัททากัจจานา” หรือที่นิยมเรียกพระนามว่า “ยโสธราพิมพา

พอประสูติโอรสพระสามีก็หนีบวช
เมื่อพระนางเจริญวัยขึ้นจนมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา ได้รับอภิเษกเป็นอัครมเหสีของเจ้า ชายสิทธัตถะ บรมโพธิสัตว์ แห่งศากยวงศ์ ในพระนครกบิลพัสดุ์ และเมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ได้ประสูติพระโอรสพระนามว่า “พระราหุลกุมาร

ในวันที่พระราหุลกุมารประสูตินั้น เจ้าชายสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ ได้เสด็จออกทรงผนวช และทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ ปี ก็ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากนั้น พระพุทธองค์ ก็ทรงจาริกไปตามคามนิคมต่าง ๆ เพื่อเทศนาสั่งสอนเวไนยสัตว์ ให้ได้บรรลุอมฤต ธรรม ตามสมควรแก่อำนาจวาสนาบารมี แล้วได้เสด็จสงเคราะห์พระประยูรญาติ ณ กบิลพัสดุ์บุรี ยังพระประยูรญาติ ศากยวงศ์ มีพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาเป็นประธาน ได้ดื่มน้ำอมฤตธรรม จนได้บรรลุอริยภูมิ ตั้งแต่พระโสดาบัน จนถึงพระอรหันต์เป็นจำนวนมาก

ในคราวที่พระบรมศาสดา เสด็จโปรดพระประยูรญาติครั้งนี้ พระราหุลกุมาร ก็ได้ติด ตามองค์พระบิดา บรรพชาเป็นสามเณร นอกจากนี้ ศากยกุมารทั้งหลายจากสกุลอื่น ๆ ก็เสด็จออก บวชเป็นจำนวนมาก ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดาเข้าสู่พระปรินิพพานแล้ว จาก นั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี พร้อมด้วยขัติยนารี ชาวศากยะ ๕๐๐ นาง ก็พากันเสด็จออก บรรพชาในสำนักพระศาสดากันทั้งสิ้น

ทางด้านพระนครกบิลพัสดุ์ ก็ว่างเว้นกษัตริย์ ที่จะปกครองดูแล หมู่อำมาตย์ราชปุโรหิต ทั้งหลาย ได้ประชุมปรึกษาเห็นพ้องต้องกัน ได้ทำพิธีราชาภิเษกอัญเชิญ เจ้าชายมหานามศากยราช ผู้เป็นพระเชษฐโอรส ของพระเจ้าอมิโตทนะ ขึ้นครอบครองราชย์สมบัติในกรุงกบิลพัสดุ์สืบต่อ ไป

ออกบวชตามพระสวามีและโอรส
ฝ่ายพระนางยโสธราพิมพาราชเทวี พระชนนีของพระราหุลกุมาร ทรงว้าเหว่ โศกาดูร ด้วยพระดำริว่า “โลกสันนิวาสนี้ มิมีอะไรแน่นอน พระสวามีและลูกน้อย ต่างก็ได้เสด็จออก บรรพชา อีกทั้งพระประยูรญาติทั้งชายหญิง ก็พากันออกบวชตามเสด็จ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมี ประโยชน์อะไรแก่เรา ในเพศฆราวาส เราควรสละสมบัติทั้งปวง แล้วออกบวช โดยเสด็จพระภัสดา ในบัดนี้ จะประเสริฐกว่า”

พระนางจึงเสด็จเข้าไปกราบทูลลาพระเจ้ามหานามะ แล้วพร้อมด้วยพระนาง รูปนันทาชนบทกัลยาณี และสาวสนมกำนัล รวมประมาณ ๕๐๐ นาง เสด็จไปยังพระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ถวายอัญชลีแล้วกราบทูลขออุปสมบท สมเด็จพระบรมศาสดา ประทานสงเคราะห์ ด้วยครุธรรม ๘ ประการ

พระนาง ครั้นบวชแล้วได้นามปรากฏว่า “ภัททากัจจานาเถรี” ได้เรียนพระกรรมฐาน ในสำนักพระบรมศาสดา แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ ประการ

เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่าพระเถรีเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญในอภิญญาทั้ง หลาย นั่งขัดสมาธิครั้งเดียว สามารถระลึกชาติได้ถึงหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป

เมื่อคุณความสามารถปรากฏเช่นนั้น พระบรมศาสดา ได้ทรงสถาปนาแต่งตั้งพระเถรีนี้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงอภิญญา

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก