หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระปฏาจาราเถรี
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๔. พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงพระวินัย

พระปฏาจาราเถรี เป็นธิดาของมหาเศรษฐีในเมืองสัตถี เมื่ออายุย่างได้ ๑๖ ปี เป็นหญิงมี ความงดงามมาก บิดามารดาทะนุถนอมห่วงใย ให้อยู่บนปราสาท ชั้น ๗ เพื่อป้องกันการคบหากับ ชายหนุ่ม

ดอกฟ้าได้ยาจก
แม้กระนั้น เพราะนางเป็นหญิงโลเลในบุรุษ จึงได้คบหา เป็นภรรยาคนรับใช้ในบ้านของ ตน ต่อมาบิดามารดาของนาง ได้ตกลงยกนางให้แก่ชายคนหนึ่ง ที่มีชาติสกุลและทรัพย์เสมอกัน เมื่อใกล้กำหนดวันวิวาห์ นางได้พูดกับคนรับใช้ ผู้เป็นสามีว่า:- “ได้ทราบว่า บิดามารดาได้ยกฉันให้กับลูกชายสกุลโน้น ต่อไปท่านก็จะไม่ได้พบกับ ฉันอีก ถ้าท่านรักฉันจริง ท่านก็จงพาฉันหนีไปจากที่นี่แล้วไปอยู่ร่วมกันที่อื่นเถิด”

เมื่อตกลงนัดหมายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ชายคนรับใช้ ผู้เปลี่ยนฐานะมาเป็นสามีนั้น ได้ ไปรออยู่ข้างนอก แล้วนางก็หนีบิดามารดาออกจากบ้าน ไปร่วมครองรักครองเรือนกัน ในบ้าน ตำบลหนึ่ง ซึ่งไม่มีคนรู้จัก ช่วยกันทำไร่ ไถนา เข้าป่าเก็บผักหักฟืนหาเลี้ยงกันไป ตามอัตภาพ นางต้องตักน้ำ ตำข้าว หุงต้มด้วยมือของตนเอง ได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส เพราะตนไม่เคยทำ มาก่อน

คลอดลูกกลางทาง
กาลเวลาผ่านไป นางได้ตั้งครรภ์บุตรคนแรก เมื่อครรภ์แก่ขึ้น นางจึงอ้อนวอนสามีให้พา นางกลับไปยังบ้านของบิดามารดา เพื่อคลอดบุตร เพราะการคลอดบุตรในที่ไกลจากบิดามารดา และญาตินั้น เป็นอันตราย แต่สามีของนางก็ไม่กล้าพากลับไป เพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษอย่างรุน แรง จึงพยายามพูดจาหน่วงเหนี่ยวเธอไว้ จนนางเห็นว่าสามีไม่พาไปแน่

วันหนึ่ง เมื่อสามีออกไปทำงานนอกบ้าน นางจึงสั่งเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน ให้บอกกับสามีด้วยว่านางไปบ้านของบิดามารดา แล้วนางก็ออกเดินทางไปตามลำพัง เมื่อสามีกลับมา ทราบความจากเพื่อนบ้านแล้ว ด้วยความห่วงใยภรรยาจึงรีบออกติดตาม ไปทันพบนางในระหว่างทาง แม้จะอ้อนวอนอย่างไร นางก็ไม่ยอมกลับ ทันใดนั้น ลมกัมมัชวาต คือ อาการปวดท้องใกล้คลอด ก็เกิดขึ้นแก่นาง จึงพากันเข้าไปใต้ร่มริมทาง นางนอนกลิ้งเกลือก ทุรนทุรายเจ็บปวด ทุกข์ทรมานอย่างหนัก ในที่สุด ก็คลอดบุตรออกมาด้วยความยากลำบาก เมื่อคลอดบุตรโดยปลอดภัยแล้ว ก็ปรึกษากันว่า “กิจที่ต้องการไปคลอดที่เรือนของบิดา มารดานั้น ก็สำเร็จแล้ว จะเดินทางต่อไปก็ไม่มีประโยชน์” จึงพากันกลับบ้านเรือนของตน อยู่ รวมกันต่อไป

สามีถูกงูกัดตาย
ต่อมาไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์อีก เมื่อครรภ์แก่ขึ้นตามลำดับ นางจึงอ้อนวอนสามีเหมือน ครั้งก่อน แต่สามีก็ยังคงไม่ยินยอมเช่นเดิม นางจึงอุ้มลูกคนแรก หนีออกจากบ้านไป แม้สามีจะ ตามมาทัน ชักชวนให้กลับก็ไม่ยอมกลับ จึงเดินทางร่วมกันไป เมื่อเดินทางมาได้อีกไม่ไกลนัก เกิดลมพายุพัดอย่างแรง และฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก พร้อมกันนั้น นางก็ปวดท้องใกล้จะคลอดขึ้น มาอีก จึงพากันแวะลงข้างทาง ฝ่ายสามีได้ไปหาตัดกิ่งไม้ เพื่อมาทำเป็นที่กำบังลมและฝน แต่ เคราะห์ร้ายถูกงูพิษกัดตาย ในป่านั้น

นางทั้งปวดท้องทั้งหนาวเย็น ลมฝนก็ยังคงตกลงมาอย่างหนัก สามีก็หายไปไม่กลับมา ในที่สุดนางก็คลอดบุตรคนที่สองอย่างนาสังเวช ลูกของนางทั้งสองคน ทนกำลังลมและฝนไม่ไหว ต่างก็ร้องไห้กันเสียงดังลั่น แข่งกับลม ฝน นางต้องเอาลูกทั้งสองมาอยู่ใต้ท้อง โดยนางใช้มือและเข่ายืนบนพื้นดิน ในท่าคลาน ได้รับ ทุกขเวทนาอย่างมหันต์ สุดจะรำพันได้

เมื่อรุ่งอรุณแล้ว สามีก็ยังไม่กลับมา จึงอุ้มลูกคนเล็กซึ่งเนื้อ หนังยังแดง ๆ อยู่จูงลูกคนโต ออกตามหาสามี เห็นสามีนอนตายอยู่ข้างจอมปลวก จึงร้องไห้รำพันว่า สามีตายก็เพราะนางเป็นเหตุ เมื่อสามีตายแล้ว ครั้นจะกลับไปที่บ้านทุ่งนา ก็ไม่มีประโยชน์ จึงตัดสินใจ ไปหาบิดามารดาของตนที่เมืองสาวัตถี โดยอุ้มลูกคนเล็ก และจูงลูกคนโตเดินไปด้วยความทุลักทุเล เพราะความเหนื่อยอ่อนอย่างหนัก ดูน่าสังเวชยิ่งนัก

หัวใจสลายเพราะสูญเสียลูกน้อยทั้งสอง
นางเดินทางมาถึงริมฝั่งแม่น้ำจิรวดี มีน้ำเกือบเต็มฝั่ง เนื่องจากฝนตกหนัก เมื่อคืนที่ผ่าน มา นางไม่สามารถจะนำลูกน้อยทั้งสอง ข้ามแม่น้ำไปพร้อมกันได้ เพราะนางเองก็ว่ายน้ำไม่เป็น แต่อาศัยที่น้ำไม่ลึกนัก พอที่เดินลุยข้ามไปได้ จึงสั่งให้ลูกคนโต รออยู่ก่อนแล้ว อุ้มลูกคนเล็กข้าม แม่น้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อถึงฝั่งแล้ว ได้นำใบไม้มาปูรองพื้น ให้ลูกคนเล็กนอนที่ชายหาด แล้วกลับ ไปรับลูกคนโต ด้วยความห่วงใยลูกคนเล็ก นางจึงเดิน พลางหันกลับมาดูลูกคนเล็กพลาง

ขณะที่มาถึงกลางแม่น้ำนั้น มีนกเหยี่ยวตัวหนึ่ง บินวนไปมาอยู่บนอากาศ มันเห็นเด็กน้อยนอนอยู่มี ลักษณะเหมือนก้อนเนื้อ จึงบินโฉบลงมา แล้วเฉี่ยวเอาเด็กน้อยไป นางตกใจสุดขีดไม่รู้จะทำอย่าง ไรได้ จึงได้แต่โบกมือร้องไล่ ตามเหยี่ยวไป แต่ก็ไม่เป็นผล เหยี่ยวพาลูกน้อยของนางไปเป็น อาหาร ส่วนลูกคนโต ยืนรอแม่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง เห็นแม่โบกมือทั้งสอง ตะโกนร้องอยู่กลางแม่น้ำ ก็ เข้าใจว่าแม่เรียกให้ตามลงไป จึงวิ่งลงไปในน้ำ ด้วยความไร้เดียงสา ถูกกระแสน้ำ พัดพาจมหายไป

ทราบข่าวการตายของบิดามารดาถึงกับเสียสติ
เมื่อสามีและลูกน้อยทั้งสอง ตายจากนางไปหมดแล้ว เหลือแต่นางคนเดียวนางจึงเดินทาง มุ่งหน้าสู่บ้านเรือนของบิดามารดา ทั้งหิวทั้งเหนื่อยล้า ได้รับความบอบช้ำทั้งร่างกายและจิตใจ รู้ สึกเศร้าโศกเสียใจสุดประมาณ พลางเดินบ่นรำพึงรำพันไปว่า:- “บุตรคนหนึ่งของเรา ถูกเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไป บุตรอีกคนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีก็ตายในป่า เปลี่ยว”

นางเดินไป ก็บ่นไป แต่ก็ยังพอมีสติอยู่บ้าง ได้พบชายคนหนึ่งเดินสวนทางมา สอบถาม ทราบว่า มาจากเมืองสาวัตถี จึงถามถึงบิดามารดาของตน ที่อยู่ในเมืองนั้น ชายคนนั้นตอบว่า:- “น้องหญิงเมื่อคืนนี้ เกิดลมพายุและฝนตกอย่างหนัก เศรษฐีสองสามีภรรยาและลูกชาย อีกคนหนึ่ง ถูกปราสาทของตน พังล้มทับตายพร้อมกันทั้งครอบครัว เธอจงมองดูควันไฟ ที่เห็นอยู่ โน่น ประชาชนร่วมกัน ทำการเผาทั้ง ๓ พ่อ แม่ และลูกบนเชิงตะกอนเดียวกัน”

นางปฏาจารา พอชายคนนั้นกล่าวจบลงแล้ว ก็ขาดสิตสัมปชัญญะไม่รู้สึกตัวว่า ผ้านุ่งผ้าห่มที่นางสวมใส่อยู่หลุดลุ่ยลงไป เดินเปลือยกายเป็นคนวิกลจริต ร้องไห้บ่นพร่ำรำพัน เซซวนคร่ำครวญว่า:- “บุตรสองคนของเราตายแล้ว สามีของเราก็ตายที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายของ เราก็ถูกเผาบนเชิงตะกินเดียวกัน”

นางเดินไปบ่นไปอย่างนี้ คนทั่วไปเห็นแล้วคิดว่า “นางเป็นบ้า” พากันขว้างปาด้วย ก้อนดินบ้าง โรยฝุ่นลงบนศีรษะนางบ้าง และนางยังคงเดินต่อเรื่อยไป อย่างไร้จุดหมายปลายทาง

หายบ้าแล้วได้บวช
ขณะนั้น พระพุทธองค์ ทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางพุทธบริษัท ทรงทราบด้วยพระฌานว่า นางปฏาจารามีอุปนิสัยแห่งพระอรหัต จึงบันดาลให้นางเดินทางมายังวัดพระเชตวัน นางได้เดินมายืนที่เสาศาลาโรงธรรม อยู่ท้ายสุดพุทธบริษัท หมู่คนทั้งหลายพากันขับไล่นางให้ออกไป แต่พระบรมศาสดาตรัสห้ามไว้ แล้วตรับกับนางว่า “จงกลับได้สติเถิด น้องหญิง”

ด้วยพุทธานุภาพ นางกลับได้สติในขณะนั้นเอง มองดูตัวเองเปลือยกายอยู่ รู้สึกอายจึงนั่งลง อุบาสกคนหนึ่งโยนฝ้าให้นางนุ่งห่ม นางเข้าไปกราบถวายบังคมพระศาสดาที่พระบาท แล้วกราบทูลเคราะห์กรรมของนาง ให้ทรงทราบโดยลำดับ พระพุทธองค์ได้ตรัสพระดำรัสว่า:- “แม่น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็ยังน้อยกว่าน้ำตา ของคนที่ถูกความทุกข์ความเศร้าโศกครอบงำ ปฏาจารา เพราะเหตุไร เธอจึงยังประมาทอยู่”

ปฏาจารา ฟังพระดำรัสนี้แล้ว ก็คลายความเศร้าโศกลง พระบรมศาสดา ทรงทราบว่านาง หายจากความเศร้าโศกลงแล้ว จึงตรัสต่อไปว่า:- “ปฎาจารา ขึ้นชื่อว่าบุตรสุดที่รัก ไม่อาจเป็นที่พึ่ง เป็นที่ต้านทาน หรือเป็นที่ป้องกันแก่ ผู้ไปสู่ปรโลกได้ บุตรเหล่านั้น ถึงจะมีอยู่ ก็เหมือนไม่มี ส่วนผู้รู้ทั้งหลาย รักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ควรชำระทางไปสู่พระนิพพานของตนเท่านั้น”

เมื่อจบพระธรรมเทศนา นางปฏาจารา ดำรงอยู่ในโสดาปัตผล เป็นพระอริยบุคคล ชั้นพระ โสดาบันแล้ว กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแล้ว จึงบวชเป็นภิกษุณี ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล

เมื่อนางปฏาจาราได้อุปสมบทแล้ว ปรากฏว่าเป็นพระเถรี ผู้มีความรอบรู้ในเรื่องพระวินัย เป็นอย่างดี อาศัยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายในฝ่ายผู้ทรงพระวินัย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก