หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระโสณภิตเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๓๑. พระโสณภิตเถระ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ

พระโสภิตะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ เมืองสาวัตถี ชื่อบิดามารดาของท่าน ไม่ปรากฏ เมื่อท่านเจริญเติบโตขึ้นได้ศึกษาศิลปะวิทยา คือ วิชาไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ ต่อมาท่านได้มี โอกาสเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ที่พระเชตะวันมหาวิหาร ได้ฟังพระธรรมเทศนา แล้วเกิดศรัทธา เลื่อมใส กราบทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ศึกษาพระกรรมฐาน บำเพ็ญสมณธรรม เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนัก ก็สำเร็จพระอรหัตผลพร้อมด้วย ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ ประการ กล่าวคือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ (ผล)
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในธรรม (เหตุ)
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในนิรุต (นิรุตติ คือ ภาษที่จะพูดให้ คนอื่นเข้าใจ)
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ (ปฏิภาณ คือ การโต้ ตอบ)

นอกจากนี้ท่านยังมีปกติสั่งสมวสี ๕ ประการ คือความชำนาญแคล่วคลองใน ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องระลึกชาติในอดีตได้ วสี ๕ ประการ คือ:-
๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญในการนึก
๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญในการเข้า
๓. อธิษฐานวสี ความชำนาญในการหยุด
๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญในการออก
๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญในการพิจารณา

ได้รับยกย่องในทางระลึกบุพเพนิวาสานุสสติ
ด้วยความชำนาญแคล่วคล่อง ดังกล่าวนี้ ครั้งหนึ่ง ท่านนั่งพิจารณาการระลึกชาติในอดีต ของท่านเอง ได้มากมายหลายแสนชาติ แล้วเกิดปีติโสมนัส ขึ้นว่า “เราเป็นผู้มีสิตปัญญาระลึก ชาติในอดีตได้ถึง ๕๐๐ กัป อย่างรวดเร็ว เหมือนนึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในคืนเดียว ทั้งนี้ก็เพราะเรา เจริญสติปัฎฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง”

นับว่าท่านเป็นพระขีณาสพผู้ประเสริฐ เลิศด้วยความรู้ความสามารถ พระบรมศาสดา จึง ทรงยกย่องท่านว่า เป็นผู้มีความสามารถในการระลึกชาติได้ เสมอกับพระองค์ และทรงแต่งตั้ง ท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระพุทธศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- พระโสภิตเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก