หน้าหลัก พระสงฆ์ เอตทัคคะ แยกตามบริษัท ๔ : ภิกษุบริษัท ๔๑ ท่าน
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๑. หมวด ภิกษุบริษัท ๔๑ ท่าน ๓. หมวด อุบาสกบริษัท ๑๐ ท่าน
๒. หมวด ภิกษณีบริษัท ๑๓ ท่าน ๔. หมวด อุบาสิกาบริษัท ๑๐ ท่าน

หมวด ภิกษุบริษัท ๔๑ ท่าน
๑. พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู
๒. พระอุรุเวลกัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก
๓. พระสารีบุตรเถระ (อัครสาวกฝ่ายขวา) เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
๔. พระมหาโมคคัลลานะเถระ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์
๕. พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก
๖. พระกาฬุทายีเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส
๗. พระนันทเถระ เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์
๘. พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
๙. พระอุบาลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย
๑๐.พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
๑๑.พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
๑๒.พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
๑๓.พระโมฆราชเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง
๑๔.พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท
๑๕.พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
๑๖.พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
๑๗.พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีวาจาไพเราะ
๑๘.พระมหากัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
๑๙.พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ว่าง่าย
๒๐.พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ
๒๑.พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
๒๒.พระพากุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ไม่มีโรคาพยาธิ
๒๓.พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ
๒๔.พระมหากัปปินเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุ
๒๕.พระอุปเสนเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใส
๒๖.พระเรวตขทิรวนิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
๒๗.พระสุภูติเถระ เอตทัคคะในทางอรณวิหารและทักขิเณยยบุคคล
๒๘.พระพาหิยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา
๒๙.พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ
๓๐.พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร
๓๑.พระโสภิตเถระ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ
๓๒.พระนันทกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาสภิกษุณี
๓๓.พระกังขาเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ
๓๔.พระมหาปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา
๓๕.พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
๓๖.พระกุณฑธานเถระ เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นที่หนึ่ง
๓๗.พระรัฐปาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
๓๘.พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
๓๙.พระมหาโกฏฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
๔๐.พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญเตโชสมาบัติ
๔๑.พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก