หน้าหลัก ตรัสรู้อริยสัจสี่ วิธีสร้างบุญบารมี การเจริญภาวนา (สมถภาวนา)
Search:

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจจ์ คือ ขันธ์ ๕ ที่คนเข้าไปยึดถือ เป็นทุกข์ ...
สมุทัยอริยสัจจ์ คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ... นิโรธอริยสัจจ์ คือ ความดับทุกข์ ...
มรรคอริยสัจจ์ คือ ทางไปสู่ความดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ”

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

ดูกรสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด เป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคล ผู้เดินไปตามทางนี้ ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่เป็นทางเดินไปสูอมตะ ดูกรสุภัททะ ! ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์

หนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

หน้าแรก : หมวดตรัสรู้อริยสัจสี่
 
ความทุกข์
 
การดับความทุกข์และสร้างสุขที่แท้จริง
 
 
 
ความทุกข์




เหตุให้เกิดทุกข์ : ตัณหา
 
ความดับทุกข์
ดับตัณหาและมีสุขที่แท้จริง
 
หลักปฏิบัติที่ทำให้พ้นทุกข์
และสร้างสุขที่แท้จริง
มัชฌิมาปฏิปทา
(ทางสายกลาง)

ชีวิตคืออะไร : ขันธ์ ๕
รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ
มีตัว มีตน
 
ชีวิตเป็นอย่างไร:ไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
 
ความทุกข์ :
     - ทุกข์กาย
     - ทุกข์ใจ
 
ประเภทและอาการแห่งทุกข์ ตามหลักทั่วไป
ทุกข์สรุปในปัญจุปาทานขันธ์
หลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับทุกข์

 
ชีวิตเป็นไปอย่างไร
กระบวนการเกิด "ทุกข์"
ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร
 
 ตัณหา :
     - กามตัณหา
       (ความอยากมี)
     - ภวตัณหา
       (ความอยากเป็น)
     - วิภวตัณหา
       (ความอยากไม่ให้มี
       อยากไม่ให้เป็น)
 
 อุปาทาน :
     - กามุปาทาน
       (ยึดมั่นในความอยาก)
     - ทิฏฐุปาทาน
       (ยึดมั่นในทฤษฏี)
     - สีลัพพตุปาทาน
       (ยึดมั่นศีลและพรต)
     - อัตตวาทุปาทาน
       (ยึดมั่นตนเป็นหลัก)
อุปาทานขันธ์ ๕
 
ลักษณะแห่งตัณหา
ที่เกิดและการเกิดแห่งตัณหา
อาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์
ทิฏฐิเกี่ยวกับตัณหา
กิเลสทั้งหลายในฐานะสมุทัย



 
ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร
กระบวนการดับ "ทุกข์"
ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร
 
ดับตัณหา
 
ดับอุปาทาน
 
 ดับทุกข์ :
     - ดับทุกข์ทางกาย
     - ดับทุกข์ทางใจ
 
ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก
 
ความสุขที่เหนือกว่า
ระดับชาวโลก
 
 

 

 

 

 

 

 


 

 
ความดับแห่งตัณหา
ธรรมเป็นที่ดับแห่งตัณหา
ผู้ดับตัณหา
อาการดับแห่งตัณหา

 
   
     
(การละชั่ว)
 
 
สมถะภาวนา
ดับทุกข์และดับกิเลสชั่วคราว

 
 
 
วิปัสสนาภาวนา
ดับทุกข์และดับกิเลสถาวร

 
ไม่มีตัวตน (กาย/ใจ)
 
"อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีอะไร
เป็นของตนอย่างแท้จริง
----------------------
สุญญตา : ว่าง
     
ไม่อยากเอา ไม่อยากเป็น
   
     
"ไม่ยึดมั่นถือมั่น"
(ไม่มีตัวกู ของกู)
สุญญตา : จิตว่าง
-----------------------
จิตหลุดพ้นจากอุปาทาน
   
วิธีสร้างบุญบารมี : การเจริญภาวนา
(สมถภาวนา)
ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ) คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (มรรค) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท.! หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนั่นเอง ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ :
             ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การดำรงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ
             ความตั้งใจมั่นชอบ อันนี้เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ) คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

อริยสัจจากพระโอษฐ์ : พุทธทาสภิกขุ

ดูวิธีสร้างบุญบารมี

หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง --> บรรลุอรหัตผล
ละคลายจากความยึดมั่นถือมั่น -->คลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ละความโลภ โกรธ และหลง
ไตรลักษณ์ -->จิตตกกระแสธรรมตัดกิเลส -->ละคลายจากอุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)
ขันธ์ ๕ --> พิจารณาเห็นเป็นไตรลักษณ์ : อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา
วิปัสสนาภาวนา --> อารมณ์ของวิปัสสนาคือพิจารณาขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)

วิธีสร้างบุญบารมี : บทนำ | ๑. การให้ทาน | ๒. การรักษาศีล | ๓. การเจริญภาวนา

วิธีสร้างบุญบารมี : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
      ๓. การเจริญภาวนา

      การเจริญภาวนา นั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ
      (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ
      (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ

      (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
      สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า "กรรมฐาน ๔๐" ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่า ผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู" คำว่า "จิตสงบ" ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า "ขณิกสมาธิ" คือสมาธิเล็กๆ น้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดจิตทรงอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ คือชั้นจาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณคมน์ (มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาชั้น ๒ คือ ดาวดึงส์)

      สมาธินั้น มีหลายขั้นตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาสคือ ชั้นที่ ๑๒ ถึง ๑๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน ๑ ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้น ๑ ถึงชั้น ๓ สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน ๑ ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า "เนวสัญญา นาสัญญายตนะ" นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่า นิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน

      การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยเพียรระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างที่เทียบกันไม่ได้

      อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้


ธรรมะบรรยาย
คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก