หน้าหลัก พระพุทธเจ้า เมืองสำคัญในพุทธประวัติ
Search:

“ ....ตถาคตมีวิชชาและ วิมุติเป็นผลานิสงส์อยู่
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว เพิ่มพูนแล้วย่อมยัง วิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์
สติปัฎฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้วยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้วยังมีสติปัฎฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
อินทรีย์สังวร อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์”

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

ปัจฉิมโอวาท:
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลาย ให้จำมั่นไว้ว่า สิ่งทั่งปวงมีความเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

หนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

หน้าแรก : หมวดพระพุทธเจ้า
เมืองสำคัญในพุทธประวัติ

ในพุทธประวัติ ได้ปรากฏชื่อเมืองต่าง ๆ หลายแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เริ่มตั้งแต่ประสูติ ออกบวชแสวงหาโมกขธรรม จนได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ และทรงออกประกาศศาสนา จนกระทั่งดับขันธปรินิพพาน เมืองสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้ บางแห่งอาจเสื่อมสูญ แปรสภาพไปตามกาลเวลา แต่หลาย ๆ แห่งยังคงทิ้งร่องรอยให้ได้ศึกษา เกี่ยวกับพุทธศาสนาในอดีต(ในสมัยพุทธกาล) ได้เป็นอย่างดี

รายชื่อเมืองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา
สาวัตถี
เสด็จประทับจำพรรษามากที่สุดกว่า ๒๕ พรรษา
กบิลพัสดุ์
เจ้าชายสิทธัตถะ ประทับอยู่จนพระชนมายุ ๒๙ พรรษา
ราชคฤห์
เมืองที่ตั้งมั่นของพระพุทธศาสนาแห่งแรก
เทวทหะ
เมืองที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ
สังกัสสะ
เมืองที่เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกของพระพุทธเจ้า
เกสริยา หรือเกสปุตตนิคม
ทรงแสดงกาลามสูตร แก่ชาวกาลามโคตร
เวสาลี
สถานที่ประทับจำพรรษาสุดท้าย และปรงอายุสังขาร
ปาวา
สถานที่เสวยพระกระยาหารครั้งสุดท้าย ของพระพุทธองค์
เมืองปัฏนา หรือปาตลีบุตร
ศูนย์กลางพระพุทธศาสนา สถานที่ทำตติยสังคายนา
พาราณสี
เริ่มต้นประกาศศาสนา แสดงปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์
ตำบลคยา
แสดงอาทิตตปริยายสูตร โปรดชฏิล ๓ พี่น้องพร้อมบริวาร
นาลันทา
ทรงแสดงพรหมชาลสูตร ประกาศทิฏฐิ ๖๒
ศูนย์กลางการศึกษา แม้ในครั้งพุทธกาล
โกสัมพี
เสด็จจำพรรษาในป่าปาริไลยกะ เหตุเบื่อหน่ายภิกษุทะเลาะกัน

ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก