หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ หัตถกคฤหบดี
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๔. หัตถกคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔

หัตถกคฤหบดี เป็นราชโอรสของพระเจ้าอาฬวกะ แห่งกรุงอาฬวี แคว้นอาฬวี มีพระ นามว่า “อาฬวกะ

พระเจ้าอาฆวกะถูกยักษ์จับ
ขณะเมื่ออาฬวกุมาร ยังอยู่ในวัยเยาว์ พระเจ้าอาฆวกะ ผู้เป็นพระราชบิดาเสด็จประพาส ป่าเพื่อล่าสัตว์ พระองค์ฆ่าเนื้อได้ตัวหนึ่ง แล้วตัดเป็น ๒ ท่อน ผูกคล้องไว้ที่ปลายคันธนู ใช้คัน ธนูแทนคาน หาบเนื้อนั้นกลับสู่พระนคร ขณะที่เสด็จกลับสู่พระนคร ได้เข้าไปพักเหนื่อยที่โคน ต้นไทรใหญ่ริมทาง และที่ต้นไทรนั้น มียักษ์สิงสถิตอยู่ ถ้ามีคนเข้ามาในร่มเงาของต้นไทรนั้น ก็ จะต้องตกเป็นอาหารของยักษ์ทุกคน

เมื่อยักษ์เห็นพระราชา ประทับนั่งที่โคนต้นไทรของตน จึงออกมาจับที่พระหัตถ์แล้วกล่าวว่า “ท่านต้องเป็นอาหารของเรา” พระราชาสะดุ้งพระทัย หวาดกลัวภัยอย่างที่สุด ไม่เห็นอุบายอย่างอื่นที่จะให้รอดพระ ชนม์ได้ จึงตรัสแก่ยักษ์ว่า “ถ้าท่านปล่อยเราไป เราขอให้ปฏิญญาแก่ท่านว่า จะส่งมนุษย์หนึ่ง คน พร้อมด้วยถาดอาหารมาให้ท่านกินทุกวัน”

ยักษ์รับปฏิญญาแล้วปล่อยพระราชาไป ตั้งแต่วันนั้น พระราชาได้ส่งนักโทษในเรือน จำ ไปเป็นอาหารของยักษ์ทุกวัน จนนักโทษหมดเรือนจำ เมื่อไม่มีนักโทษส่งไปแล้ว จึงรับสั่งให้ จับคนแก่ไปให้ยักษ์วันละคน จนกระทั่งคนแก่ก็หมดไป ทั้งเมือง จากนั้นรับสั่งให้จับตัวเด็ก ๆ ส่งไปให้ยักษ์ ด้วยวิธีนี้ครอบครัวพ่อแม่ ที่มีลูกหลานพากันอพยพหนีไปอยู่เมืองอื่นกันหมด

พุทธานุภาพปราบยักษ์
วันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่ง พระบรมศาสดาทรงตรวจดูสัตว์ ผู้มีอุปนิสัยควรแก่การบรรลุ มรรคผล ได้ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยของอาฬวกกุมาร ผู้ซึ่งได้ตั้งความปรารถนาไว้ นานถึง แสนกัป ก็ถ้าพระราชาผู้เป็นพระบิดา เมื่อไม่มีเด็กอื่นจะส่งไปให้แก่ยักษ์แล้ว ก็จัดส่งโอรส ของพระองค์เอง ไปให้ยักษ์ในวันพรุ่งนี้ ดังนั้น ในเวลาเย็นวันนั้น พระพุทธองค์ได้เสด็จไปยัง ต้นไทร ที่อยู่อาศัยของอาฬวกยักษ์ ประทับนั่งบนอาสนะของอาฬวกยักษ์นั้น

ขณะนั้น สาตาคิรยักษ์ และเหมวตยักษ์ เหาะผ่านมาทางนั้น ได้เห็นพระบรมศาสดา ประทับนั่งในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ จึงเข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคม แล้วถอยออกไปกล่าวมุทิตา กถา แสดงความยินดีกับอาฬวกยักษ์ว่า
“ท่านอาฬวกยักษ์ ท่านมีโชค ได้ลาภอันประเสริฐแล้ว ขณะนี้พระบรมโลกนาถศาสดา เสด็จมาประทับยังที่นั่งของท่าน ขอท่านจงไปเฝ้ากราบถวายบังคม และฟังพระธรรมเทศนาเถิด”

แต่อาฬวกยักษ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ พอได้ฟังดังนั้น ก็โกรธ ที่พระสมณโคดม รุกล้ำล่วงสู่ แดนของตน จึงประกาศที่จะต่อสู้ เพื่อขับไล่พระสมณโคดมไปให้พ้น จากสถานที่ของตน พร้อมทั้งชักชวนสรตาคิรยักษ์ และเหมวตยักษ์ ให้ร่วมด้วยช่วยกันทำศึกในครั้งนี้ แต่ยักษ์ทั้ง สองไม่ยอมร่วมด้วย อาฬวกยักษ์ จึงประทุษร้ายขับไล่พระพุทธองค์ด้วยตนเอง เพียงผู้เดียว

อาฬวกยักษ์ แม้จะรุกรานพระบรมศาสดาด้วยกำลัง โดยวิธีการต่าง ๆ ก็ไม่สามารถจะ ได้รับชัยชนะ จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีถามปัญหา ๘ ข้อ พระพุทธองค์ทรงวิสัชนา แก้ได้ทั้งหมด เมื่อ จบการแก้ปัญหา อาฬวกยักษ์ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน มีศรัทธามั่นคง ไม่หวั่นไหวในพระ รัตนตรัย คลายความโกรธและหายจากความโหดร้าย กลับมีจิตเมตตาต่อผู้อื่น

วันรุ่งขึ้น ราชบุรุษทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เด็กภายนอกไปให้ยักษ์ จึงกราบทูลพระราชาให้ ทรงทราบ พระราชาเมื่อไม่มีใครอื่นที่จะส่งไป ก็เกรงภัยจะมาถึงตน จึงได้ส่งอาฬวกกุมาร วางลง ที่มือของยักษ์ ฝ่ายอาฬวกยักษ์ พอรับเด็กมาแล้วได้น้อมเข้าไป ถวายวางลงบนพระหัตถ์ของพระ ศาสดา พระพุทธองค์ทรงรับแล้ว ส่งกลับคืนในมือของยักษ์อีก อาฬวกยักษ์ได้นำเด็กไปวางใน มือของพวกราชบุรุษ ที่นำมาอีกครั้งหนึ่ง พระราชกุมารนั้น โดยอาการที่ถูกส่งจากมือหนึ่ง ไปยัง อีกมือหนึ่งนี้ จึงได้รับการขนานนามว่า “หัตถกอาฬวกกุมาร” และได้รอดพ้นจากการเป็น อาหารของยักษ์ ด้วยพระพุทธบารมี

หัตถกอาฬวกกุมาร นั้น เมื่อเจริญวัยขึ้นมา ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดา ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี ประกาศตนเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต เมื่อเขาจะไปในที่ใด ๆ ก็จะมีอุบาสกผู้เป็นอริยะ ๕๐๐ คน ติดตามแวดล้อมตลอดเวลา พระบรม ศาสดาได้ตรัสถามเขาว่า “มีหลักสงเคราะห์บริษัทบริวารอย่างไร ?”

หัตถกอาฬวกกุมาร กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์สงเคราะห์ ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ
๑. ทาน ถ้าเขายินดีด้วยการให้ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยการให้
๒. ปิยวาจา ถ้าเขายินดีด้วยการพูดจาไพเราะน่ารักข้าพระองค์ ก็สงเคราะห์ด้วยวาจาไพเราะน่ารัก
๓. อัตถจริยา ถ้าเขายินดีด้วยการให้ทำกิจที่เกิดขึ้นจนสำเร็จข้าพระองค์ก็ สงเคราะห์ด้วยการช่วยทำกิจที่เกิดขึ้นจนสำเร็จ
๔. สมานัตตตา ถ้าเขายินดีด้วยการวางตนเสมอกัน ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ ด้วยการด้วยการวางตนเสมอกัน

พระบรมศาสดาทรงอนุโมทนาในการสงเคราะห์บริษัทบริวารของเขาแล้ว ประกาศยก ย่องหัตถกอาฬวกกุมาร ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสัคหวัตถุ ๔

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก