หน้าหลัก
Search:
  ศาสนาแห่งการดับทุกข์ และสร้างสุขอย่างแท้จริง
     

“ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และบัญญัติไว้ด้วยดีนั่นแหละ จักเป็นพระศาสดา ของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว”

พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ ก่อนปรินิพพาน


พระพุทธศาสนา กำเนิดจากพระปัญญาตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระองค์ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ อาศัยความอุตสาหะพยายามเสาะแสวงหาธรรมเครื่องพ้นทุกข์ จนได้พบความจริงแห่งชีวิต กล่าวคือ อริยสัจสี่ หลังจากนั้น ก็ได้เสด็จออกโปรดเวไนยสัตว์ เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์

พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" ทรงประสูติ เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนวิสาขะ(เดือน ๖) เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ทันทีที่ประสูติ ก็ทรงดำเนินได้ ๗ ก้าว โดยเบื้องใต้พระบาทมีดอกบัวผุดขึ้นรองรับ และทรงเปล่งอภิสวาจาว่า "เราเป็นผู้เลิศ เป็นประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดของเราครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้าย ภพใหม่ต่อไปไม่มี" หลังจากประสูติได้ ๕ วันก็ได้รับคำพยากรณ์จากพราหมณ์ว่า ถ้าพระองค์เสด็จอยู่ครองราชสมบัติ จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพมาก แต่ถ้าเสด็จออกผนวช จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก

ตลอดระยะเวลาของวัยเด็กถึงวัยหนุ่ม พระองค์ถูกปรนเปรอด้วยกามสุขต่าง ๆ เพื่อป้องกันความน้อมใจในการออกบวช ตามพระประสงค์ของมหาราชผู้เป็นพระบิดา ถึงกระนั้นก็ไม่อาจต้านทานได้ เมื่อครั้งหนึ่งพระองค์ทรงเสด็จประภาสอุทยาน และได้พบนิมิตแห่งเทวทูต ๔ ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บป่วย คนตาย และนักบวช เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแห่งชีวิต และประสงค์ที่จะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ พระองค์จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกบวช ในขณะที่มีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา

พระองค์ใช้เวลาศึกษาจากนักปราชญ์หลายสำนักเพื่อมุ่งหวังทางพ้นทุกข์ ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ แม้จะด้วยวิธีการต่าง ๆ จนถึงวิธีการทรมานตนอย่างอุกกฤษ์ ทรงตัดสินพระทัยหันมายึดทางสายกลาง มุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง จึงได้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ตรัสรู้อริยสัจสี่ (ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ) ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา รวมระยะเวลา ๖ ปีที่พระองค์ใช้ในการศึกษาค้นคว้า จนกระทั่งตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ

หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงนำหลักธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบ สั่งสอนเวไนยสัตว์โดยพิจารณาอุปนิสัยเปรียบด้วยบัว ๔ เหล่า ทรงใช้เวลาประกาศศาสนาทั้งสิ้น ๔๕ พรรษา จนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเมื่อมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา และได้ตรัสปัจฉิมโอวาท เพื่อเตือนสติพระสาวกทั้งหลายเป็นครั้งสุดท้ายว่า

ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือนพวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายในโลก มีความเสื่อมสลาย เป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์ แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ ด้วย ความไม่ประมาทเถิด

การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ได้เกิดขึ้นในวันเดียวกัน คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งก็คือ “วันวิสาขบูชา

เรื่องเกี่ยวข้อง :
   - สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
   - เมืองสำคัญในพุทธประวัติ
   - วีดีโอ : สารคดีแห่งศตวรรษ "ตามรอยพระพุทธเจ้า"

  
  ธรรมะบรรยาย
เรียงตามพระอาจารย์ เรียงตามวิธีสร้างบุญบารมี และชื่อเรื่อง
เรียงตามพระอาจารย์ และชื่อเรื่อง เรียงตามไตรสิกขา และพระอาจารย์
เรียงตามชื่อเรื่อง เรียงตามไตรสิกขา และชื่อเรื่อง
เรียงตามอริยสัจสี่ และพระอาจารย์ เรียงตามแก่นแห่งพุทธธรรม และพระอาจารย์
เรียงตามอริยสัจสี่ และชื่อเรื่อง เรียงตามแก่นแห่งพุทธธรรม และชื่อเรื่อง
เรียงตามวิธีสร้างบุญบารมี และพระอาจารย์ -> วีดีโอ Test

  
  ลักษณะแห่งพุทธศาสนา โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ขั้นตอนการศึกษาพระพุทธศาสนาโดยละเอียด (ก ข ก กา ของการศึกษาพุทธศาสนา)
   โดย พระพุทธโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา โดย พระพุทธโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

  
  พุทธประวัติ โดย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ โดย พระพุทธโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
พุทธประวัติ ตามหลักสูตรศึกษาอื่น ๆ
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
เมืองสำคัญในพุทธประวัติ

  
  พระธรรม คือ หลักธรรม คำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ และบัญญัติไว้ดีแล้ว
พระพุทธธรรม อันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา เริ่มแรกอาศัยการถ่ายทอดสืบต่อด้วยการท่องจำ จนได้มีการสังคายนา รวบรวมพระพุทธธรมไว้เป็นหมวดหมู่ และได้จดบันทึกลงบนใบลาน จนกลายมาเป็น "พระไตรปิฏก" ในปัจจุบัน จากนั้นก็ได้แยกออกเป็นคัมภีร์อรรถกถาภาษาต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการใช้เป็นหลักสูตรศึกษา ในแต่ละระดับชั้น.. ดูรายละเอียดทั้งหมด

  
  ความหมายของพระสงฆ์ : สงฆ์ หรือ สงฺฆ ในภาษาบาลีแปลว่า หมู่ หมายถึง สาวกของพระพุทธเจ้า..
ปฐมสาวก : พระสาวกรูปแรกในพุทธศาสนา, พระมหาสาวกผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอัครสาวก และพระมหาสาวกผู้ี่เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่ศาสนา ไ้ด้ถูกรวบรวมไว้ในหมวด "อสีติมหาสาวก"

สมเด็จพระสังฆราชของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงพระเกจิอาจารย์สายต่าง ๆ.. ดูรายละเอียดทั้งหมด

  
  อริยสัจสี่ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ
    ทุกข์อริยสัจ(ทุกข์) ความทุกข์กาย-ใจ : ชีวิตคืออะไร ?
    สมุทัยอริยสัจ(สมุทัย) เหตุให้เกิดทุกข์ : ชีวิตเป็นไปอย่างไร ?
    นิโรธอริยสัจ(นิโรธ) ความดับทุกข์ : ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ?
    มรรคอริยสัจ(มรรค) หลักปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ : ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ?
วิธีการดับความทุกข์ และสร้างสุขที่แท้จริง.. ดูรายละเอียดทั้งหมด

  
  "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" (พุทธพจน์)
ดังนั้น ธรรมะปฏิบัติ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติศาสนา

ศีล : การชำระกาย วาจา
ธรรมะปฏิบัติ : ความหมาย ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม
วิธีการปฏิบัติธรรม : สมถะภาวนา (จิตตั้งมั่น), วิปัสสนาภาวนา (ทำใจให้บริสุทธิ์) และหลักของอานาปานสติ.. ดูรายละเอียดทั้งหมด

  
ศาสนพิธี   ศาสนพิธี หมายถึง พิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา พิธีกรรมทางศาสนานั้น เปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้ ต้นไม้ที่ปราศจากเปลือกห่อหุ้ม ย่ิอมไม่สามารถยืนต้นอยู่ได้
พิธีกรรมทางพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น ๔ หมวดใหญ่ คือ..
   กุศลพิธี บุญพิธี ทานพิธี และปกิณณกพิธี
วันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชนควรรู้.. ดูรายละเอียดทั้งหมด
  - องค์กรทางพระพุทธศาสนา
- สถาบันการศึกษาด้านพุทธศาสนา
- ทะเบียนวัดในประเทศไทย
- Worldwide Buddhist Information
- Buddhist e-Library

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์


สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก