หน้าหลัก พระสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชของไทย พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
สมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์
พระองค์ที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) พระองค์ที่ ๑๑ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
พระองค์ที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) พระองค์ที่ ๑๒ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
พระองค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (มี) พระองค์ที่ ๑๓ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
พระองค์ที่ ๔ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) พระองค์ที่ ๑๔ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
พระองค์ที่ ๕ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) พระองค์ที่ ๑๕ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)
พระองค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) พระองค์ที่ ๑๖ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)
พระองค์ที่ ๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระองค์ที่ ๑๗ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
พระองค์ที่ ๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระองค์ที่ ๑๘ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
พระองค์ที่ ๙ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
พระองค์ที่ ๑๐ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  
พระองค์ที่ ๑๙	สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
[ วัดบวรนิเวศวิหาร ]
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
( คัดลอกจาก www.sangharaja.org )
การสาธารณูปการ
นับแต่ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงบูรณะซ่อมสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดถึงการก่อสร้างถาวรวัตถุเป็นสาธารณประโยชน์ในที่อื่นอีกเป็นจำนวนมาก ที่สร้างขึ้นใหม่ในวัดบวรนิเวศวิหาร คือ

- ตึกกวีบรรณาลัย ห้องสมุดของมหามกุฏราชวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
- ตึกวชิรญาณวงศ์ อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- ซุ้มปรางค์ที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ บนลานทักษิณ ชั้นที่ ๒ ของพระเจดีย์ใหญ่

- กุฏิหลวงเจริญฤทธิศาสตร์ ในคณะเหลืองรังษี
- กุฏิพระนิกรบดี ในคณะเขียวรังษี
- ตึก ภปร. พิพิธภัณฑ์วัดบวรนิเวศวิหาร
- กุฏิคุณหลวงจี๊ด สัตยานุรักษ์ ในคณะเหลืองรังษี
- กุฏิรามเดชะ ในคณะสูง
- ถังน้ำบ่อบาดาล พร้อมติดตั้งนาฬิกาไฟฟ้าและระฆังข้างตึกมนุษยนาควิทยาทาน
- อาคารกิจกรรม หลังตึกวชิรญาณวงศ์ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- ตึก สว . ธรรมนิเวศ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดบวรนิเวศวิหาร
- มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองหลังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
- โพธิฆระ ( เรือนโพธิ์ ) หลังพระวิหารพระศาสดา
- ศาลาวชิรญาณ ๑๕๐ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร
- ศาลาหน้าศาลาวชิรญาณฯ
- กุฏิหน้ากุฏิใหญ่คณะเขียวรังษี

ส่วนเสนาสนะและถาวรวัตถุอื่น ๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ก็ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่หมดทั้งพระอาราม ที่สำคัญ คือ

- ประดับโมเสกทองพระเจดีย์ใหญ่ตลอดทั้งองค์
- ประดับหินอ่อนพระอุโบสถตลอดทั้งหลัง

การก่อสร้างถาวรวัตถุอื่น ๆ ภายนอกวัดตลอดถึงการอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดต่าง ๆ นั้น มีจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ

- สร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สำหรับเป็นตึกสงฆ์ และใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๒๕ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๒๙

- สร้างตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สำหรับเป็นตึกสงฆ์ และใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ และทำพิธี เปิดเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๓๐

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดล้านนาญาณสังวราราม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มสร้าง พ . ศ . ๒๕๒๓ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ. ศ. ๒๕๓๑ ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ. ศ. ๒๕๓๒ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ . ศ . ๒๕๓๖

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทรามหาสันติคิรี และวัดสันติคีรีญาณสัง วราราม ณ ดอยแม่สะลอง บ้านแม่สะลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เริ่มสร้าง พ . ศ . ๒๕๓๑ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๕๔๔ ประกาศ ตั้งเป็นวัดเมื่อ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ . ศ . ๒๕๔๔ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ . ศ . ๒๕๔๕

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างโรงเรียนมัธยมญาณสังวร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร พ. ศ. ๒๕๑๖
- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดรัชดาภิเษก อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี พ. ศ. ๒๕๑๔
- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดวังพุไทร อำเภอไทรโยค จังหวัดเพชรบุรี เริ่มสร้าง พ. ศ. ๒๕๑๖ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ . ศ . ๒๕๓๖ ประกาศตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ . ศ . ๒๕๓๖ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ . ศ . ๒๕๓๗

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างวัดพุมุด อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เริ่มสร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๑๙ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ. ศ. ๒๕๓๒

- สร้างวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เริ่มสร้าง พ . ศ . ๒๕๑๙ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อพ. ศ. ๒๕๒๐ ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ. ศ. ๒๕๒๓ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ. ศ. ๒๕๒๕

- สร้างโรงเรียนและโรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ . ศ . ๒๕๓๓

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างตึก ภปร (ตึกผู้ป่วยนอก) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๙ และทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๓๒

- ทรงอุปถัมภ์การสร้างโรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๖ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๗

ที่นับว่าสำคัญก็คือ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ ทรงพระดำริให้จัดสร้าง “ ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ” สำหรับสงฆ์อาพาธในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ รวม ๑๙ พระองค์ ในถิ่นที่ขาดแคลนสถานพยาบาล กระจายไปในจังหวัดต่าง ๆ ทุกภาคของประเทศ พร้อมทั้งโปรดให้สร้างพระรูปของสมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๑๙ พระองค์ประดิษฐานไว้เป็นที่สักการะบูชาประจำโรงพยาบาลที่สร้างถวายเป็นพระอนุสรณ์แต่ละแห่งด้วย โรงพยาบาลสกลมหาสังฆปริณายกทั้ง ๑๙ แห่งดังกล่าวได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑ ” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( ศรี )วัดระฆังโฆษิตาราม

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๒ ” ณ โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( สุก ) วัดมหาธาตุ

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๓ ” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( มี ) วัดมหาธาตุ

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๔ ” ณ โรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( สุก ญาณสังวร ) วัดมหาธาตุ

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๕ ” ณ โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย ถวายเป็นพระ อนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( ด่อน ) วัดมหาธาตุ

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๖ ” โรงพระปริยัติธรรมวัดพระบาทมิ่งเมือง จังหวัดแพร่ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราช ( นาค ) วัดราชบุรณะ

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๗ ” โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ( พระองค์เจ้าวาสุกรี ) วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม

ตึกสกลมหาสังปริณายก ๘ ” ณ โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ( พระองค์เจ้าฤกษ์ ) วัดบวรนิเวศวิหาร

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๙ ” ณ โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( สา ปุสฺสเทโว ) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๐ ” ณ โรงพยาบาลนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ( พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ) วัดบวรนิเวศวิหาร

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๑ ” ณ โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ( หม่อมเจ้าภุชงค์ ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๒ ” ณ โรงพยาบาลขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ติสฺสเทโว ) วัดสุทัศน์เทพวราราม

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๓ ” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ( หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ ) วัดบวรนิเวศวิหาร

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๔ ” ณ โรงพยาบาลอ่าวลึก จึงหวัดกระบี่ ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( ปลด กิตฺติโสภโณ ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๕ ” ณ โรงพยาบาลตราด จังหวัดตราด ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( อยู่ ญาโณทโย ) วัดสระเกศ

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๖ ” ณ โรงพยาบาลภูกระดึง จังหวัดเลย ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( จวน อุฏฐายี ) วัดมกุฎกษัตริยาราม

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๗ ” ณ โรงพยาบาลลานสะกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( ปุ่น ปุณฺณสิริ ) วัดพระเชตุพนวิมลลังคลาราม

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๘ ” ณ โรงพยาบาลไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( วาสน์ วาสโน ) วัดราชบพิธสถิต มหาสีมาราม

ตึกสกลมหาสังฆปริณายก ๑๙ ” ณ โรงพยาบาลท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ( เจริญ สุวฑฺฒโน ) วัดบวรนิเวศวิหาร

นอกจากนี้ยังทรงอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดในต่างประเทศอีกหลายแห่งคือ

- วัดพุทธรังษี ในอุปการะของมหามกุฏราชวิทยาลัย ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียก่อตั้ง เมื่อ พ . ศ . ๒๕๑๕ และเปิดวัดเป็นทางการ เมื่อ พ . ศ . ๒๕๑๘
- วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เริ่มก่อสร้างเมื่อพ. ศ. ๒๕๒๕ และผูกพัทธสีมา เมื่อ พ. ศ. ๒๕๒๘
- อุโบสถวัดสิริกิตติวิหาร ณ เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ. ศ. ๒๕๓๑
- วัดแคโรไลนาพุทธจักรวนาราม รัฐนอร์ธแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๓๐

พระกรณียกิจ
- ทรงแสดงพระธรรมเทศนาประจำวันอุโบสถเวลาเช้า ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
- ทรงบรรยายธรรมในการฝึกอบรมการปฏิบัติทางจิต ( กรรมฐาน ) ประจำวันพระ และหลังวันพระ ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ ตึก สว. ธรรมนิเวศ
- ทรงบรรยายในรายการบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง อ. ส. พระราชวังดุสิต ประจำทุกวันอาทิตย์

พระศาสนกิจในต่างประเทศ
คัดลอกจาก http://www.dhammajak.net

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียะต่างๆ มาแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เช่น การจัดให้มีการเทศน์เป็นภาษาอังกฤษ จัดให้มีการสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ และจัดให้มีการสนทนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำ (ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์)

โดย เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ดำเนินการเองร่วมกับพระภิกษุไทย และพระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังได้เสด็จไปปฏิบัติศาสนกิจ เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศอีกหลายคราว คือ

พ.ศ. ๒๕๐๙ ในฐานะประธานกรรมการอำนายการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙

การเสด็จไปประเทศอังกฤษ คราวนี้ ก็เป็นโอกาสให้ได้ดูกิจการพระธรรมทูต และการพระศาสนาในประเทศนั้น และในประเทศอิตาลีในขากลับประเทศไทยอีกด้วย

พ.ศ. ๒๕๑๐ ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม ได้ตามเสด็จ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งเสด็จเยือนประเทศศรีลังกาอย่างเป็นทางการ ตามคำทูลอาราธนาของรัฐบาลศรีลังกา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างศาสนิกชนแห่งประเทศทั้งสอง และเป็นการตอบแทนไมตรีของรัฐบาลไทย ที่ได้นิมนต์พระมหานายกะของสยามวงศ์นิกายแห่งลังกา มาเยือนประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙

พ.ศ. ๒๕๑๑ เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาทั่วไป ในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ ในฐานะประธานสภาการคึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย โดยอนุมัติของมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยพระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร ป.ธ. ๙) (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ สมเด็จพระญาณวโรดม) เลขาธิการสภาการศึกษาฯ ในขณะนั้น

เนื่องจากการเดินทางครั้งนี้ ผลปรากฏว่าต่อมาได้มีการติดต่อกับหัวหน้าชาวพุทธไปประเทศอินโดนีเซีย และได้วางโครงการร่วมกันในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น สุดท้ายหัวหน้าชาวพุทธในประเทศอินโดนีเซียได้เดินทางเข้ามาประเทศไทย เจรจากับ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ขอพระธรรมทูตไทยออกไปช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย

กรมการศาสนาร่วมกับสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ จึงได้คัดเลือกพระธรรมทูตไทย ๔ รูป เสนอ มหาเถรสมาคม ส่งออกไปปฏิบัติศาสนกิจช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น พระธรรมทูตชุดแรกออกไปเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ และพระธรรมทูตชุดนี้ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในประเทศนี้ถึง ๑๐ ปีเศษ

สำหรับประเทศออกเตรเลียนั้น ปรากฏว่ามีผู้นับถือและสนใจพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก มีความประสงค์ให้มีพระสงฆ์อยู่ เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศนั้นด้วย

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้เสนอเรื่องการจัดตั้งสำนักสงฆ์ไทยในออสเตรเลีย ต่อคณะกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ก็ได้รับความเห็นชอบ และจัดตั้งสำนักสงฆ์ไทยขึ้นในประเทศนั้น ในความอุปการะของ มหามกุฏราชวิทยาลัย

และได้จัดส่งพระภิกษุไทยร่วมกับพระภิกษุชาวต่างประเทศ (ซึ่งบวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร) ออกไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖ และต่อมาก็ได้จัดตั้งวัดขึ้น และประกอบพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘

พ.ศ. ๒๕๑๓ เสด็จไปประเทศอินโดนีเซียอีกครั้งหนึ่ง ตามคำอาราธนาของหัวหน้าพระธรรมทูตไทย และ พระชินรักขิตเถระ หัวหน้าพุทธศาสนิกชนชาวอินโดนีเซีย เพื่อให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวอินโดนีเซีย ๗ คน พร้อมด้วย พระธรรมโสภณ (สนธิ์ กิจฺจกาโร) (ภายหลังเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นที่ พระญาณวโรดม รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร)

การเดินทางไปประเทศอินโดนีเซียครั้งนี้ เป็นโอกาสให้ได้สังเกตการณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น

พระขนฺติปาโล ได้บันทึกการเดินทางเล่าถึงสิ่งที่พบเห็น และข้อคิดเห็นบางประการไว้อย่างน่าสนใจ หนังสือเล่มนี้พิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔

พ.ศ. ๒๕๑๔ ในฐานะประธานสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เสด็จไปดูการศาสนาและการศึกษา ในประเทศปากีสถาน เนปาล และอินเดีย พร้อมด้วย พระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร ป.ธ. ๙) (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ สมเด็จพระญาณวโรดม) เลขาธิการสภาการศึกษาฯ ในขณะนั้น

ในโอกาสเดียวกัน ก็ได้รับอนุมัติจาก มหาเถรสมาคม ให้เป็นผู้แทนของคณะสงฆ์ไทยไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ และวัดพระพุทธศาสนาในประเทศปากีสถานตะวันออก และนำสาส์นของ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) ถึงพุทธศาสนิกชนชาวปากีสถานตะวันออก

พร้อมทั้งนำเอาวัสดุสิ่งของต่างๆ และกัปปิยภัณฑ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งทางคณะสงฆ์ไทยได้จัดหามาไปมอบแก่ พระภิกษุสามเณรและชาวพุทธในประเทศปากีสถานตะวันออก ที่ประสบวาตภัยครั้งใหญ่ในคราวนั้นด้วย

เมื่อกลับจากการเดินทางครั้งนั้นแล้ว ก็ได้ทำรายงานเสนอมหาเถรสมาคม ทำให้คณะสงฆ์ได้ทราบถึงความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศนั้นๆ ซึ่งกำลังต้องการความช่วยเหลือในการฟื้นฟู และทำให้คณะสงฆ์เห็นชอบด้วยกับความดำริของคณะสงฆ์เนปาล ซึ่งจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น และยินดีสนองความต้องการของคณะสงฆ์เนปาล

ในขั้นแรกนี้สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เสนอให้ทุนการศึกษาจำนวน ๒ ทุน สำหรับให้พระภิกษุสามเณรชาวเนปาล เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

ต่อมาคณะสงฆ์เนปาลก็ได้คัดเลือกสามเณร ๒ รูป ส่งเข้ามาศึกษาในประเทศไทย โดยพักอยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร เข้าศึกษาที่สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในหลักสูตรพิเศษ ๓ ปี สำหรับพระภิกษุและสามเณรชาวต่างประเทศ

พ.ศ. ๒๕๑๘ เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิด วัดพุทธรังษี สแตนมอร์ ณ นครซิดนีย์ รัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิด และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม-๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘

พ.ศ. ๒๕๒๐ เสด็จไปบรรพชากุลบุตรชาวอินโดนีเซียจำนวน ๔๓ คน ณ เมืองสมารัง ประเทศอินโดนีเซีย ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สังฆเถรวาทอินโดนีเซีย ได้เสด็จไปเยี่ยมชมกิจการพระศาสนา ณ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ขากลับทรงแวะเยี่ยมชมการพระศาสนา ณ ประเทศสิงคโปร์ ด้วย ระหว่างวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐-๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑

พ.ศ. ๒๕๒๓ เสด็จไปร่วมประชุม สหพันธ์คีตาอาศรมสากล ในฐานะที่ทรงเป็นพระอาคันตุกิเศษ ณ ประเทศอินเดีย เมื่อทรงเสร็จภารกิจที่ประเทศอินเดียแล้ว ได้เสด็จไปเยี่ยมชมกิจการพระศาสนา ณ ประเทศเนปาล อีกครั้งหนึ่ง ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓

ในศกเดียวกัน เสด็จไปทรงดูกิจการพระศาสนา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศยุโรป ตามคำอาราธนาของบริษัท ศรีกรุงวัฒนา จำกัด พร้อมด้วย พระธรรมดิลก (ปุญฺญาราโม วิชมัย บุญมาก) (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ พระพรหมมุนี) ระหว่างวันที่ ๓ เมษายน-๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓

พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นประธานคณะสงฆ์พร้อมด้วยพระสงฆ์อีก ๑๙ รูป จากประเทศไทยไปทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย เป็นการผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นครั้งแรกในประเทศอินโดนีเซียนั้น ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

ในศกเดียวกัน เสด็จพร้อมด้วยคณะสงฆ์จากประเทศไทย ไปเป็นประธานบรรพชากุลบุตรศากยะแห่งเนปาล จำนวน ๗๓ คน ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เนปาล ระหว่างวันที่ ๒๓-๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘

พ.ศ. ๒๕๓๖ เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน โดยได้เสด็จเยือนเมืองต่างๆ คือ ปักกิ่ง ซีอาน คุนหมิง และสิบสองปันนา ระหว่างวันที่ ๒๐ มิถุนายน-๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖

นับเป็นการเจริญศาสนสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน เป็นทางการเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง

พ.ศ. ๒๕๓๘ เสด็จไปทรงเป็นประธานวางศิลาฤกษ์ วัดไทยลุมพินี ณ เมืองลุมพินี ประเทศเนปาล ซึ่งรัฐบาลไทยได้จัดสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘

เนื้อหา : หอมรดกไทย, www.dhammajak.net และ www.sangharaja.org
ภาพประกอบ : www.dhammajak.net

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก