หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ไทย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
๑๗ เมษายน ๒๓๓๑ - ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕
วัดระฆังโฆสิตาราม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
--------------------
ชาตะ
วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

บวชเป็นสามเณร
เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ

บวชเป็นพระภิกษุ
พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป

เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น "พระธรรมกิตติ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น "พระเทพกวี" ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "สมเด็จพระ พุฒาจารย์" ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง" เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง "สมเด็จโต" ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี อายุ พรรษาได้ 56 พรรษาแล้ว

มรณภาพ
สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ บนศาลา ใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม

สรุป
สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปํนที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ


อัจฉริยะและภูมิปัญญา
ท่านสมเด็จโตนั้น เป็นคนที่เกิดอายุได้ 5 รัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 มีแม่เป็นชาวบ้านธรรมดา ชื่อใดนั้นตามประวัติหลายต่อหลายเล่มมิได้กล่าวอ้าง สมเด็จท่านเป็นคนอัจฉริยะภูมิปัญญาแตกฉาน ตั้งแต่เด็จโตขึ้นบวชเณรก็มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชูมาโดยตลอด ไม่เคยยุ่งเกี่ยวทางด้านโลกีย์ หญิงใด ๆ มาชอบพอไม่เคยสน เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย มักไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ชอบดู เหตุผล ชอบคิดวิเคราะห์สติปัญญาจึงแตกฉาน พอโตขึ้นมาอายุได้ครบบวชเป็นพร ท่านก็บวชสละเณรเปลี่ยนบวชเป็นพระต่อไปเลย การบวชเป็นพระนั้นเป็นที่ฮือฮาชอบพอรักใคร่ของผู้หลักผู้ใหญ่จนถึงกษัตริย์ จัดเป็นนาคหลวง เมื่อบวชเป็นพระเสร็จ ท่านได้เที่ยวสัญจรไปมาตามที่ต่าง ๆ ตามนิสัยของท่านที่ของค้นคว้าหาความรู้จึงมุ่งศึกษาหาอาจารย์ต่าง ๆ ที่คงแก่เรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานสมถะ จากอาจารย์ต่าง ๆ ของเดินธุดงค์พงไพรไป

ขณะนั้นยศของท่านยังไม่ได้ยศเป็นสมเด็จ เป็นพระธรรมดา อาศัยท่านแตกฉานด้านปัญญา พระไตรปิฎกท่านรู้อย่างดี จิตใจท่านมุ่งแต่บูชาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ท่านจึงริเริ่มสร้างพระขึ้นมา สมัยที่ขณะนั้นยศยังไม่ได้เป็นสมเด็จ ท่านสร้างขึ้นตามใจของท่าน รูปแบบพิมพ์พระสมเด็จที่ท่านสร้างตอนนั้น มิใช่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรากำลังแสวงหาพระสมเด็จกัน รูปทรงพิมพ์สมเด็จขณะนั้นเป็นรูปคดหอย จับผงมาปั้นเป็นก้อน ๆ ยาว ๆ แล้วก็วนเป็น คดหอย ปลุกเสกแจกชาวบ้าน บางพิมพ์ก็เป็นรูปปูก็มี เป็นรูปต่าง ๆ ก็มีแสดงให้เห็นว่า ท่านสมเด็จเริ่มสร้างพระสมเด็จตั้งแต่ยังไม่ได้ยศสมเด็จจากในหลวงแต่งตั้ง วัดที่ท่านได้ไปอยู่ก็หลายต่อหลายวัด แต่ในที่นี้เราจะเอาเฉพาะวัดที่สำคัญในตระกูลพระสมเด็จที่เล่นกันอยู่ นั่นคือ วัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม และวัดระฆัง ทั้งสามวัดนี้ ท่านได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาจนทุกวันนี้เราก็ต่างเสาะแสวงหากันอยู่ การสร้างนั้นท่านสมเด็จจะปลุกเสกเดี่ยวแต่เพียงผู้เดียว เพราะฉะนั้นพลังจิตในพระสมเด็จทุกรุ่นทุกพิมพ์จึงเป็นพลังจิตของท่าน

หลังจากที่ท่านได้ร่ำเรียนจนสำเร็จวิปัสสนาญาณกรรมฐานชั้นสูง ท่านก็ได้มีอาจารย์อยู่คนหนึ่ง อาจารย์คนนั้นท่านผู้อ่านอาจจะนึกเดาถูก นั่นคือ สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เหตุที่เรียกว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน เพราะมีไก่ป่า ท่านสังฆราชเอามาเลี้ยงจนเชื่องเล่นกันได้ จึงได้ฉายาว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน พระสังฆราชนั้นเป็นอาจารย์ของสมเด็จโต พร่ำสอนวิชาต่าง ๆ ให้จนสมเด็จโตเก่งแตกฉานทุกอย่าง สม้ยนั้นสมเด็จพระสังฉราชสุกไก่เถื่อนได้สร้างพระสมเด็จวัดพลับขึ้นมาปลุกเสกเอง ซึ่งสมเด็จโตก็รู้ จากนั้นมาไม่นาน ท่านสมเด็จโตก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง

จากการที่ได้รับยศเป็นถึงสมเด็จนั้น ท่านจำไจยอมรับ เพราะตอนนั้นในหลวงเป็นเจ้าฟ้า ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฟ้านั้น ปกคลุมพื้นดินไปหมด จะหนีฟ้าก็ไม่พ้น แต่ถ้าเป็นเจ้าแผ่นดิน สมเด็จโตท่านมีความรู้ ย่อมหนีพ้นจึงไม่รับยศ หนีออกนอกแผ่นดิน โดยเดินธุดงค์ไปหลายเดือนเพื่อหนียศ แต่นี่กษัตริย์เป็นยศถึงเจ้าฟ้าไม่พ้นจึงจำใจรับยศสมเด็จ และเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นมา ขณะนั้นเองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่แปลกแหวกแนวพิสดารมากมาย ตลกขบขันก็มี เกิดขึ้นบ่อย ๆ อาทิเช่น มีฝรั่งต่างชาติ รู้ข่าวว่าท่านสมเด็จโตเก่งอัจฉริยะ จึงลองภูมิปัญญาท่านสมเด็จโตว่า "จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ตรงไหน?" ท่านสมเด็จตอบฝรั่งไปว่า "จุดศูนย์กลางของโลกนั้นอยู่ทุกหนทุกแห่งบนพื้นผิวโลก ไม่ว่าฉันจะไปยืน ณ ที่ใดตรงนั้นคือจุดศูนย์กลางของโลก " ฝรั่งถามว่า ท่านพิสูจน์ให้เห็นได้ไหม ? ท่านสมเด็จตอบว่า "ฉันพิสูจน์ได้แล้วท่านจะว่าอย่างไร" ฝรั่งไม่ตอบ จากนั้นสมเด็จโตก็ถือตาลปัตร มือหยิบสายสิญจน์แทนเชือก เอาสายสิญจน์ผูกที่ตาลปัตรเอาตาลปัตรปักดินแลังดึงเชือกสายสิญจน์ให้ตึงกางออก ใช้ปลายนิ้ว แทนดินสอ จากนั้นก็ลากลงบนพื้นดินเป็นวงกลม ท่านสมเด็จบอกว่า วงกลมคือโลก เพราะฉะนั้น ฉันยืนอยู่จุดศูนย์กลางของโลก ตรงจุดที่ตาลปัตรปักดินนั้นแหละ

เมื่อเป็นเช่นนี้ฝรั่งยอมแพ้กลับไป ยังมีอีกหลายเรื่องที่ท่านสมเด็จโตย่อมรู้กาลเวลาอนาคต มีครั้งหนึ่ง หญิงจีนมาขอหวยท่านสมเด็จโต แอบมานัดกับเด็กวัด โดยแนะให้ขึ้นไปคุยกับท่านสมเด็จโตบนกุฏิ ให้เด็กวัดชวนพูดแล้วบีบนวดไป จากนั้นเด็กวัดก็ถามท่านสมเด็จโตว่า "ท่านตา ท่านตา หวยงวดนี้มันจะออกอะไร " เมื่อท่านสมเด็จโตได้ยินดังนั้น ท่านก็ตอบว่า ข้าตอบไม่ได้โว้ย เดี๋ยวหวยของข้าจะรอดร่อง ขณะนั้น ก็บังเอิญอาเจ็คคนนี้แกแอบอยู่ใต้ถุนกุฏิ แกแอบได้ยินสมเด็จโตพูดอย่างนั้นก็เปิดแน่บไปเลย

นอกจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีเหตุการณ์อื่น ๆ อีก มีครั้งหนึ่งขณะที่ท่านสมเด็จโตกำลังจะไปธุระ บังเอิญเรือติดหล่ม ต้องเข็นเรือกัน ท้านสมเด็จโตได้เอาพัดยศวางไว้ในเรือแล้วรีบมาช่วยคนอื่นซึ่งเป็นลูกศิษย์เข็นเรือ บังเอิญชาวบ้านแถบนั้น แลเห็นเข้าหัวเราะชอบใจขบขัน พูดตะโตนออกมาว่า "ดูท่านสมเด็จเข็นเรือ" เสมือนหนึ่งล้อเลียนท่านในเชิงปัญญาขบขัน เมื่อเป็นเช่นนั้น สมเด็จโตก็พูดออกมาว่า สมเด็จเขาไม่ได้เข็นเรือหรอกจ้ะ สมเด็จท่านอยู่บนเรือ ว่าแล้วท่านสมเด็จโตก็ชี้มือไปที่พัดยศในเรือ เมื่อชาวบ้านต่างได้ยินได้ฟัง แลเห็นเช่นนั้น ก็เงียบกริบไม่ว่าอะไร เรื่องพิสดารอย่างนี้ก็มีเกิดขี้น

เราขอพาท่านไปดูเหตุการณ์ในอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องลองภูมิปัญญากัน มีครั้งหนึ่ง ท่านในหลวงได้มีราชโองการโปรดเกล้า ให้ท่านสมเด็จโตเข้าเฝ้า ถวายพระธรรมเทศนาในวัง เมื่อสมเด็จโตท่านมาถึง นั่งธรรมมาสก์เสร็จ ก็เอ่ยปากพูดว่า "ดีีพระมหาบพิธก็รู้ ชั่วพระมหาบพิธก็รู้ เพราะฉะนั้นวันนี้อากาศแจ่มใสดี เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้"

เมื่อเจ้าเหลวงได้ยินดังนั้น ก็แลเห็นท่านโตลุกจากธรรมมาสก์แล้ว มิได้มองเจ้าหลวง เจ้าหลวงเห็นดังนั้น จึงเอ่ยปากเรียกสมเด็จโตว่า ท่านโต ท่านโต ทำไมถึงเทศน์จบเร็วจัง ไงไม่เข้าใจ ท่านโตก็เฉลยว่า ที่พูดว่าอากาศแจ่มใสดี ดีก็รู้ ชั่วก็รู้ ก็หมายถึงว่า วันนี้ จิตใจของพระมหาบพิธ รื่นเริงสดชื่น ปราศจากความหม่นหมองใจ ก็คือความหมายที่ว่า อากาศแจ่มใสดี อาตมาจึงเทศน์เพียงเท่านี้ เพราะไม่รู้จะพูดอะไร เมื่อพระมหาบพิธได้ยินดังนั้น ก็รู้สึกเข้าใจในความหมายเทศน์ เป็นยังไงท่านผู้อ่าน เรื่องราวแหลวแหวกแนวพิสดาร แสดงกถึงภูมิปัญญาอัจฉริยะของท่านสมเด็จโต ยังมีอีกมากมายที่จะบอกเล่าให้ท่านผู้อ่านได้รู้กัน

มีอยู่ตอนหนึ่ง ขณะที่เจ้าหลวงเชิญสมเด็จโตมาเทศน์ วันนั้นท่านโตเทศน์นานแล้วนานเล่า จนกิริยาอาการของเจ้าหลวงเริ่มเหนื่อยหน่าย หงุดหงิด พอท่านโตเทศน์เสร็จ เจ้าหลวงถามท่านโตว่า ท่านโต วันนี้ทำไมถึงเทศน์นานจัง เราเมื่อย เหนื่อย อยากจะถาม ท่านโต ได้ยินดังนั้น ก็ตรัสตอบไปว่า ก็วันนี้จิตใจของมหาบพิธเต็มไปด้วย ความทุกข์เร่าร้อนในอารมณ์ตลอดเวลา จึงเทศน์ให้มันเย็น จึงนานไปหน่อย

ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่จะกล่าวถึง คือ ในวันนั้น ท่านสมเด็จโตได้ออกจากกุฏิมุ่งหน้าไปธุรกิจ แจงเรือผ่านไปตามคลองชาวบ้านก็แลเห็น ต่างก็พูดขอหวยท่านโตต่าง ๆ นานา รู้กิตติศัพท์ว่า ท่านให้แม่น สงสารคนจน และเวลาเทศนาธรรมที่ใด ท่านสมเด็จได้เงินกัณฑ์เทศน์มา ก็นำมาแจกชาวบ้านและเด็กจน ๆ แม้แต่สตางค์แดงเดียวก็มิเอา ครั้นพอขากลับวัด ท่านสมเด็จโต ก็ซื้อหม้อขนมาเต็มลำเรือ เจตนารมณ์ จะบอกใบ้ให้ชาวบ้านจน ๆ ตีปริศนาไปแทงกัน เพราะรู้ว่าหวยจะต้องออก "ม" มอม้า วันนี้ จึงซื้อหม้อมาเต็มลำเรือ บังเอิญชาวบ้าน ที่ท่านสมเด็จโตแจวเรือผ่านมา ตามริมคลองแลเห็นเข้า ต่างก็ตะโกนพูดว่า "ท่านโตเป็นอะไร ทำไมถึงซื้อหม้อมาเยอะแยะนะ" แต่ก็มีชาวบ้าน ที่ปัญญาฉลาดตีความถูก วันนั้นพอเห็นท่านโตซื้อหม้อมาเยอะแยะ รู้ว่าหวยออก ม. มอม้า จึงรีบไปแทง ครั้นพอหวยประกาศออกมาปรากฏว่า ออก "ม" มอม้า นี่ก็แสดงให้ท่านผู้อ่านได้แลเห็นว่า ท่านสมเด็จโตเป็นอัจฉริยะบุคคล ที่มีใช่บุคคลธรรมดา เก่งด้วยวิปัสสนากรรมฐาน รู้อดีต รู้ปัจจุบัน และรู้อนาคต ยังมีอีกหลายต่อหลายบทตอน ที่จะหยิบยกเอามาพูดกันให้รู้ทีละตอน ๆ

มีคราวหนึ่ง ท่านสมเด็จโตได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาพิมพ์หนึ่ง โดยผีมือช่างหลวงช่วยแกะพิมพ์ให้ พอสร้างเสร็จปลุกเสกเสร็จ ท่านโตก็ได้ให้พระสมเด็จทรงพิมพ์นี้ ให้ ร.5 ติดตังไป ท่าน ร.5 ได้นำพระสมเด็จ ที่สมเด็จโตสร้างติดตัวไปประเทศเยอรมัน พอถึงเยอรมัน กษัตริย์เยอรมันพบ ร.5 เข้าก็แปลกใจ แลเห็นที่หน้าอกของ ร.5 มีแสงสว่างประกายออกมา จึงกราบเรียนถาม ร.5 ว่า ในตัวมีอะไร ร.5 ก็นึกขึ้นมาได้ว่า มีพระสมเด็จองค์หนึ่งที่ท่านโตให้ติดตัวมา จึงถวายให้กับกษัตริย์เยอรมันไป จึงเรียกสมเด็จทรงพิมพ์นี้ว่า ทรงพิมพ์ไกเซอร์

ท่านผู้อ่านที่เคารพยิ่ง ตามประวัติต่างๆ ที่ผู้เขียนได้หยิบยกขึ้นมาเขียนกล่าว บางครั้งอาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปบ้าง เขียนถูกบ้างผิดบ้าง ขอได้โปรดอภัย แต่เจตนารมณ์ของผู้เขียน มุ่งที่จะจรรโลงไว้ซึ่งศาสนา ให้เจริญสูงส่ง รวมทั้งสถาบันกษัตริย์ และประการสุดท่านก็คือส่งเสริมคุณค่า และความดีเกียรติคุณยกย่องให้ท่านสมเด็จโต มิได้มุ่งทำลาย อดุมการณ์ของผู้เขียนมีอย่างนี้ จึงได้เพียรพยายามทุกวิถึทาง ที่จะให้หนังสือเล่มนี้ได้สำเร็จขี้นมา ด้วยความเพียร และขอบรารมีพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ดลบังดาล เกิดผลคุณค่าทางปัญญา ส่งผลออกมาทางลายลักษณ์อักษร ให้ท่านได้ดูอ่านชมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งสมบูรณ์แบบครบถ้วน อาจจะขาดเหลือไป ก็เพียงเล็กน้อย ผลอันนี้มุ่งหวังให้ท่านผู้อ่านทั้งประเทศ หรือต่างประเทศได้รู้ถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนาไทยเรา และรู้คุณค่าของประวัติความดีของสมเด็จโต ตลอดจนพระสมเด็จที่ท่านสมเด็จโตได้สร้างขึ้น

สุดท้ายนี้ ผลงานความดีทั้งหลายแหล่ที่ได้จากากรจัดทำนั้น ผู้เขียนขอน้อมเกล้าถวายยกให้พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอรหันต์ ตลอดจนสมเด็จโต รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายในสากลโลกทั้งหมด ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด และศาสนาใด ๆ จงได้รับผลอานิสงค์บุญ จากการจัดทำหนังสือเล่มนี้ไปด้วยเทอญ ความบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

คราวหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปธุระทางแขวงจังหวัดนนทบุรีด้วยเรือแจง ขอกลับพอมาถึงปากคลองสามเสน เด็กศิษย์คนหนึ่ง ได้เอากะโหลกออกไปตัก น้ำ จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ กะโหลกนั้นได้พลัดหลุดจากมือจมลงไปในแม่น้ำ ท่านพูดว่า "งมที่นี้ไม่ได้ เพราะน้ำลึก ต้องไปงมที่หน้าวัดระฆังจึงจะได้" เมื่อถึงวัดระฆังท่านจึงให้เด็กศิษย์นั้นลงไปงมทื่หน้าวัด ก็ได้กะโหลกลมจริงดังที่ท่านบอก

ย้อนกลับ | หน้าที่ ๑ | หน้าที่ ๒ | หน้าต่อไป

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก